คุณเคยลองถ่ายภาพสัตว์น้ำในพิพิธภัณฑ์ไหม มันเป็นการถ่ายภาพที่มีความท้าทายอย่างหนึ่งที่มีสิ่งมีชีวิตในน้ำที่น่าอัศจรรย์และสวยงาม  แต่ปัญหาหลักคือการขาดแสงและการเลือกใช้เลนส์จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ รวมไปถึงการรับมือกับแสงสะท้อนของกระจกที่จากภายนอกของตู้ปลา ถ้าหากอยากได้ภาพที่ดีคุณต้องรู้จักควบคุมการสะท้อน

 

1. รู้จักการควบคุมการเปิดรับแสง

          พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำถือเป็นสถานที่ที่มีแสงน้อยมาก ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของรู้รับแสงเสียก่อน เพราะเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างประกอบกับความไวชัดเตอร์จะสามารถถ่ายภาพออกมาได้ดีกว่ารูรับแสงน้อย นอกจากนี้การนำเลนส์ไปจ่อกับกระจกของตู้ปลาก็ควรที่จะมีการเช็คทำความสะอาดลบรอบนิ้วมือออกเสียก่อน เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพที่ดีลดการมีสิ่งมารบกวน

 

2. จับโฟกัสภาพด้วยตนเอง

          การถ่ายภาพผ่านแผ่นกระจกอาจจะทำให้การโฟกัสอัตโนมัติทำงานยากกว่าปกติ เพราะระบบการโฟกัสจะล้มเหลวในสถานการณ์เช่นนี้ ดังนั้นการเลือกใช้การโฟกัสแบบแมนนวลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการโฟกัสแม่นยำบนวัตถุ ในฉากที่ซับซ้อนมีวัตถุทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง การตั้งค่าเช่นนี้จะช่วยให้คุณสามารถโฟกัสได้อย่างถูกต้อง

 

3. หลีกเลี่ยงการบิดเบือน

          เพราะเนื่องด้วยสภาวะของ แสง กระจก และน้ำ ทำให้เกิดการหักเหของแสงและความผิดปกติของสีกล่าวคือแสงสีม่วงกับน้ำเงินจะปรากฎขึ้นรอบวัตถุภาพอาจจะทำให้ภาพไม่ชัดเจน ดังนั้นควรตั้งกล้องถ่ายรูปของคุณไปในมุมที่ตั้งฉากกับกระจกตู้ปลารวมไปถึงการไม่ใช้แฟลชด้วยเพราะจะทำให้การสะท้อนกับกระจกได้

 

4. มีลูกเล่นกับสีสันแสงไฟของตู้ปลา

          การเล่นกับแสงสีในตู้ปลานั้นจะช่วยภาพดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น มีความโดดเด่น มีความหลากหลาย รวมไปถึงอุณหภูมิของสีที่ให้ความรู้สึกแตกต่าง การจับจังหวะของแสงที่มีการเปลี่ยนแสงอยู่ตลอดเวลากับวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวก็ถือว่าเป็นการฝึกฝนที่ดี ดังนั้นควรใช้โหมด White Balance เพื่อให้แสงดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด

 

5. การถ่ายภาพให้มีเรื่องราว

          เงาของมนุษย์ถือเป็นการสร้างเรื่องราวได้อย่างหนึ่ง กล่าวคือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร  เงาของพวกเขาจะสามารถทำให้เกิดภาพที่มีมิติมากขึ้น ดังในภาพนี้จะสามารถบอกเล่าได้ว่า ทุกคนกำลังรอชมปลาที่อยู่ในอควาเรื่อม และในขณะที่ปลาก็ว่ายน้ำวนไปวนมา

 

          สุดท้ายแล้วความอดทนก็คือกุญแจสำคัญในการถ่ายภาพที่ดีของปลา โดยเฉพาะการโฟกัสที่ดวงตามุ่งเน้นไปที่บริเวณที่เฉพาะเจาะจงและรอให้ปลาว่ายลงมาหาเรา และถ้าการถ่ายครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จก็ต้องลองใหม่อีกครั้ง เพราะช่างภาพที่มีผลงานที่ดีมักจะไปที่เดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้ง