สวัสดีคร่า ต่อเนื่องจากกระทู้ที่แล้วที่ได้มีการเขียนในเรื่องของ “เคล็ดลับของการถ่ายภาพ Portrait” ไปแล้ววันนี้เราจะมาพูดถึงในเรื่องของปรับค่ากล้องพื้นฐานเบื้องต้นที่เราควรทำความเข้าใจกันค่ะ อีกทั้งพื้นฐานเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้ง DSLR และ Mirrorless ได้หมดเลยเจ้าค่ะ

 

องค์ประกอบของภาพ

          หลายคนคงรู้จักกับกฎ 3 ส่วนกันแล้วนะคะ ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้ง 3 เส้น ก็จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด 4 จุด เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการนำบุคคลไว้จุดตัดจุดในก็ได้ที่เราต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก อย่างเช่นภาพตัวอย่างด้านบนที่จะเน้นตรงดวงตาค่ะ และการวางหน้าของบุคคลไปในด้านเนื้อที่เยอะๆ ก็จะช่วยให้ภาพดูมีอากาศหายใจ ดูไม่อึดอัด มีความสวยงาม

 

ความเร็วชัตเตอร์มีผลต่อการถ่าย Portrait อย่างไร

          ความเร็วของชัตเตอร์ต้องมีค่าที่สูงพอที่จะไม่ทำให้ภาพสั่นไหว เป็นผลทำให้ภาพไม่คมชัด และเมื่อเรากำหนดความเร็วชัตเตอร์ให้ทำงานช้า ก็จะสามารถไม่หยุดสิ่งที่เคลื่อนไหวให้ได้ ทำให้ภาพนั้นดูมีการเคลื่อนไหวและไม่คมชัด ดังภาพตัวอย่างที่ 1 แต่ถ้าหากเรากำหนดความเร็วชัดเตอร์เร็วชัตเตอร์ให้ทำงานเร็ว ก็จะสามารถหยุดสิ่งที่เคลื่อนไหวให้นิ่งสนิทได้ ภาพก็จะมีความคมชัดมากขึ้น ดังภาพตัวอย่างที่ 2 มองเห็นถึงความแตกต่างแล้วใช่ไหมค่ะ บางคนคงสงสัยว่าทำไมค่า ISO ถึงมีการเปลี่ยนเมื่อเราใช้ชัตเตอร์ที่มีค่าต่ำแสงที่เข้ามาในภาพก็จะมีมากขึ้น หากเราใช้ชัดเตอร์ที่มีค่าสูง แสงที่เข้ามาในภาพก็จะน้อยลง ดังนั้นเราจึงต้องใช้ ISO ช่วยในเรื่องแสงที่สมดุลในภาพค่ะ

 

ความชัดลึกของภาพ

          ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องของการใช้ค่า f ค่ะ ถ้าเราใช้ f ที่มีค่าน้อย > รูกว้าง > แสงก็จะเข้ามาเยอะ เมื่อนำมาใช้ถ่ายภาพบุคคลก็จะมีพื้นหลังที่เบลอและตัวบุคคลจะมีความเด่นชัด แต่ถ้าหากเราใช้ f ที่มีค่ามาก > รูแคบ > แสงก็จะเข้ามาน้อย เมื่อเรานำมาใช้กับบุคคลพื้นหลังกับตัวบุคคลก็จะมีความคมชัดเท่ากัน ดังภาพตัวอย่างด้านบน จะเห็นได้ชัดว่าภาพนั้นมีความแตกต่างเป็นอย่างมาก

 

ประโยชน์ของ White Balance

 

 

          เชื่อว่าหลายคนเวลาถ่ายภาพมักจะมีปัญหากับอุณหภูมิภาพสีใช้ไหมค่ะ White Balance สามารถช่วยคุณในเรื่องของสีสันการบันทึกภาพ ให้มีความถูกต้องหรือมีสีที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อให้เกิดความสมดุลของภาพเราจึงต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ White Balance แต่ละชนิดกัน

 

  • Auto (อัตโนมัติ) คือ กล้องจะปรับหรือแก้ค่าสีอัตโนมัติให้เกิดแสงสมดุลสีขาว

  • Daylight (แสงแดด) คือ แก้สีฟ้าที่เกิดในภาพ โดยการเพิ่มสีส้มเข้าไป

  • Shade (แสงในร่ม) คือ แก้สีฟ้าที่เกิดจากการถ่ายในที่ร่ม โดยการเพิ่มสีส้มเข้าไป

  • Cloudy (เมฆครึ้ม) คือ แก้สีฟ้าที่เกิดจากการมีเมฆมาก โดยการเพิ่มสีส้มเข้าไป

  • Tungsten light (หลอดไฟทังสเตน) คือ แก้สีส้มที่เกิดในภาพ โดยการเพิ่มสีน้ำเงินเข้าไป

  • White fluoresescent light (แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว) คือ แก้สีน้ำเงินและเขียวที่เกิดในภาพ โดยการเพิ่มสีม่วงเข้าไป

  • Flash (แสงแฟลช) คือ แก้สีฟ้าอ่อน โดยการเพิ่มสีส้มและเหลืองเข้าไป

  • Custom (กำหนดเอง) คือ เราสามารถเลือกปรับเติมสีของ White Balance เอง ในกรณีที่เราเลือกปรับค่า White Balance แล้วแต่สีก็ยังออกมาไม่ตรง

 

           นี่ก็เป็นพื้นฐานเบื้องต้นนะคะ แต่ยังมีพื้นฐานอื่นๆและโหมดการถ่ายภาพต่างๆ อีกมากมาย สำหรับวันนี้ก็อยากฝากให้ทุกคนลองถ่ายภาพตามบทความพื้นฐานเบื้องต้นนี้ แล้วลองควบคุมแสงจากธรรมชาติดูนะคะว่าเป็นเช่นไร แล้วก็อย่าลืมนำภาพหลังกล้องมาโชว์ผลงานกันค่ะ