ปิยะฉัตร แกหลง” หนึ่งในสุดยอดช่างภาพมืออาชีพของประเทศ และวิทยากรแนะนำเทคนิคการใช้กล้องกับประสบการณ์การใช้EOS R กล้อง Mirrorless Full Frame รุ่นแรกจาก Canon

“ทุกวันนี้ทำงานเป็นช่างภาพอิสระ แต่ลักษณะการถ่ายภาพนั้น เป็นการถ่ายภาพเพื่อเอา Know-how หรือเอาประสบการณ์การถ่ายภาพในสถานที่ต่างๆ มาบอกเล่าสู่กันฟัง รวมถึงการเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการถ่ายภาพด้วย”

กับ EOS R กล้อง Mirrorless Full Frame รุ่นแรกจาก Canon กูรูถ่ายภาพระดับประเทศไทยรายนี้ ได้นำไปใช้จริงในหลากหลายสถานการณ์ ทั้งแนว Landscape, Snapshot, Macro และ Action อย่างการแข่งเรือพาวเวอร์โบ๊ท F1 ซึ่งต้องการประสิทธิภาพของกล้องชนิดสาหัสสากรรจ์พอสมควร ก็นำกล้อง EOS R ไปทดสอบมาแล้ว


พูดกันตรงๆ กล้องตัวนี้มีประสิทธิภาพและความสามารถค่อนข้างหลากหลาย แม้การถ่ายภาพแนว Action / Sport อาจจะยังตอบสนองได้ไม่เร็วเท่า DSLR ในการเริ่มต้นทำงาน แต่เมื่อระบบกล้อง EOS R เริ่มทำงานแล้ว ความเร็วถือว่าไม่ธรรมดา คือ เร็วมาก เนื่องจากไม่มีระบบชุดกระจกสะท้อนภาพ ดังนั้น การจับโฟกัส ความไวในการ Tracking วัตถุ หรือจำนวนจุดเซนเซอร์ออโต้โฟกัสจะมากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบเดิมๆ ที่เคยใช้กันมา ทำให้มีความแม่นยำสูงมาก มีความเร็วในการติดตามวัตถุได้ค่อนข้างดี จนรู้สึกทึ่งในความสามารถของ Canon EOS R ตัวนี้

"Canon EOS R เป็นกล้องที่มีเซนเซอร์ออโต้โฟกัสแทบจะทั่วทั้งภาพ แล้วก็ทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำจริงๆ การ Tracking ตามวัตถุถือว่าแม่นมาก จับใบหน้าได้เแล้วยังจับไปถึงดวงตาได้อีก ทำให้ความผิดพลาดเรื่องการโฟกัสมีน้อยลง คุณภาพของไฟล์ภาพจากกล้อง EOS R ค่อนข้างดี ค่อนข้างยืดหยุ่น โดยเฉพาะยิ่งเมื่อใช้กับเลนส์ RF ที่ออกแบบมาให้แมทช์กับ EOS R คุณภาพของไฟล์ภาพดีขึ้นผิดหูผิดตา สามารถ Crop ภาพไฟล์ได้ 100% ไม่ต้องย่อภาพเมื่อโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เรียกว่า Crop ภาพปุ๊บแล้ววางลงไปเท่าไรเท่านั้น ใช้ได้เลย"

ฟังก์ชันหนึ่งที่ถือเป็นตัวเด็ดมากเลยก็คือ การที่จอภาพ EOS R ถูกออกแบบมาให้เป็นระบบทัชสกรีน ทำให้ง่ายต่อการปรับตำแหน่งโฟกัส เพียงแค่เลื่อนนิ้วแตะไปบนจอทัชสกรีนขณะที่ตายังมองภาพในช่อง Viewfinder เราสามารถ Track ตามวัตถุที่เปลี่ยนทิศทางได้พร้อมกับจัดองค์ประกอบภาพให้วัตถุไม่ต้องอยู่ตรงกลางภาพตลอดเวลา เพียงเลื่อนนิ้วไปจอทัชสกรีนได้เลย เป็นอะไรที่ดีมาก

จอ LCD ที่พับได้ของ EOS R มีประโยชน์ในการเปลี่ยนมุมมองภาพที่มันแปลกตามากขึ้น ผมเองเป็นคนที่ชอบเล่นกับมุมมองภาพที่ต่างออกไปจากปกติ ทั้งมุมต่ำและมุมสูง ในบางสถานการณ์ของการถ่ายภาพเราไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ อาจจะอยู่ในท่ามกลางผู้คนมากมาย จอภาพที่หมุนได้ช่วยได้เยอะเลย

อีกฟีเจอร์ที่อยากพูดถึงก็คือ จอภาพในช่องมองภาพของ EOS R ปัญหาประการหนึ่งที่พบในกล้อง DSLR ก็คือ การดูจอภาพเวลาอยู่ Outdoor กลางแดด จะลำบากเพราะเจอกับแสงสะท้อน มีปัญหาแสงรบกวน การแสดงผลภาพหรือการมองเห็นภาพสีของภาพอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ภาพ Over หรือ Under ไป เราก็จะมาแก้ไขค่าโน่นนี่นั่นอยู่เรื่อย แต่ช่อง Viewfinder ของ EOS R นอกจากจะใช้ดูภาพเหมือนใน DSLR แล้ว เวลาที่เรากดเพลย์หรือพรีวิวภาพในกล้อง EOS R เรายังสามารถดูภาพในจอ Viewfinder ได้เลย ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องแสงรบกวนที่เราเคยดูจากจอ LCD ตรงนี้ค่อนข้างดี ช่วยได้เยอะมาก

นอกจากนั้น การที่ EOS R มี Adapter แปลง Mount ให้ใช้ได้กับเลนส์ตระกูล EF ของ Canon คนอาจจะเข้าใจว่าแค่พอใช้ได้ แต่จริงๆ แล้ว มันดีมาก การทำงานแทบไม่มีปัญหาเลย ไม่ว่าจะเป็น การ Tracking ออโต้โฟกัสหรือความเร็วในการ Control เท่าที่เคยลองใช้กับเลนส์ EF 100-400mm F4.5-5.6L IS II USM ถือว่า Work มาก เคยใส่กับ Telephoto Lens และ Super-Telephoto Lens ช่วงตั้งแต่ 300-600mm การทำงานในภาคสนามไม่รู้สึกว่ามีปัญหาติดขัดตรงไหนเลย

เรื่องคุณภาพของไฟล์ภาพ ประเด็นหนึ่งที่ผมอยากรู้มาก เชื่อว่าคนที่เป็นนักถ่ายภาพก็อยากรู้ นั่นก็คือ กล้อง EOS R เมื่อเร่ง ISO สูงๆ แล้ว ภาพยังโอเคอยู่หรือเปล่า ผมจึงตั้งโจทย์ให้ตัวเองเรื่องการถ่ายภาพเครื่องบินตอนกลางคืนหรือในที่แสงน้อย กล้องตัวนี้จะโอเค

ขนาดไหน? สำหรับกล้อง EOS R จุดเด่นอย่างหนึ่งที่ Canon บอกไว้ก็คือ ออโต้โฟกัสที่สามารถทำงานได้ที่ระดับแสงน้อยถึง EV-6 คือ

น้อยประมาณแสงดาว ซึ่งมันมืดมากแต่ต้องใช้กับเลนส์ RF 50mm F/1.2L USM เมื่อกล้องให้มาถึง EV-6 ถ้าใช้กับเลนส์ตัวอื่นในสถานการณ์บางอย่างที่ไม่ถึง EV-6 ก็น่าจะทำงานได้

“มีภาพชุดหนึ่งที่ผมเป็นคนถ่าย เป็นภาพเครื่องบินโดยสารกำลัง Taxi ไปตามรันเวย์ที่สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นการถ่ายภาพในเวลากลางคืน มีแสงจากตัวเครื่องบินนิดหน่อย สมัยก่อนเวลาถ่ายภาพอัด ISO เข้าไปสูงๆ มันถ่ายได้จริงแต่คุณภาพของภาพไม่ค่อยดี ซึ่งกับกล้อง EOS R ผมอัดค่า ISO ที่ 12,800 ขึ้นไป พอถ่ายมาปุ๊บ คุณภาพของไฟล์ภาพออกมาก็โอเค ใช้งานได้เลย ที่สำคัญก็คือ เซนเซอร์ออโต้โฟกัสก็ยังสามารถจับโฟกัสได้อยู่ตลอดเวลา”

สำหรับมือใหม่หัดถ่ายที่อยากพัฒนาตนเองให้ก้าวเข้าสู้ระดับมืออาชีพนั้น คุณปิยะฉัตร ในฐานะตากล้องระดับ Professional แนะนำว่า อันดับแรกเลยสำหรับคนที่สนใจหัดเล่นกล้อง คือ ต้องรู้จักมารยาทใช้กล้องในการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นพื้นฐานอันดับแรก

เลย เพราะมารยาทในการใช้กล้องที่ดี จะเปิดโอกาสหลายอย่างๆ ให้กับเรา ใครเห็นก็รู้สึกชื่นชม ต้องการทำงานกับตากล้องคนนี้ อยากให้มือใหม่ฝึกและเรียนรู้ตรงนี้ด้วย

จริงๆ แล้วมารยาทในการใช้กล้องถ่ายภาพ ไม่ต่างไปจากมารยาทในการใช้ชีวิตประจำวัน คุณต้องเข้าคิวยังไงในการถ่ายภาพคุณก็ต้อง

เข้าคิวอย่างนั้นด้วย มีใครกำลังถ่ายภาพอยู่หรือเปล่า ไปบังกล้องคนอื่นไหม ต้องคิดเสมอว่า ภาพที่กำลังจะถ่าย สร้างความเสียหายให้กับใครหรือไม่ เมื่อคุณยกกล้องขึ้นถ่ายภาพใครสักคนหนึ่ง คนๆ นั้นท่าทางดูไม่ดีไหม อยู่ในสภาพที่รู้สึกว่าไม่โอเคหรือเปล่า ถ่ายออกมาแล้วดูไม่ดีไหม ในความรู้สึกของผม ไม่มีใครอยากเห็นภาพตัวเองดูแย่หรือดูไม่ดี

ส่วนพื้นฐานสำคัญอีกข้อสำหรับมือใหม่นั้น ต้องทำความเข้าใจกับกล้องและอุปกรณ์ที่มีอยู่เยอะๆ มีคนพูดว่ากล้องกับอุปกรณ์ไม่สำคัญเท่า

กับคนถ่ายภาพ แต่ผมคิดว่า กล้องกับคนถ่ายภาพมีความสำคัญทั้งคู่ กล้องให้ภาพเรา แต่เราเป็นคนให้มุมมองกับกล้อง กล้องที่ดีจะให้คุณภาพของภาพถ่ายที่ดีมากขึ้น ฝีมือของตากล้องที่ดีมาเจอกับกล้องที่ดีด้วย ภาพยิ่งออกมาดียิ่งขึ้น อย่าหยุด อย่าเบื่อ ที่จะเรียนรู้ในเรื่องการฝึกฝนการถ่ายภาพเพื่อก้าวขึ้นไป

 

รับชมบทสัมภาษณ์ได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=9osKsSg2-Kg&feature=youtu.be