“ความแตกต่างของช่างภาพอาชีพกับคนที่ชอบถ่ายภาพคือความสามารถในการถ่ายภาพที่คนทั่วไปถ่ายไม่ได้” ประโยคนี้จากคุณกิ๊ก ปิยะฉัตร แกหลง ทำให้เราสัมผัสได้ถึงคาแรคเตอร์ของความมุ่งมั่นและฝีไม้ลายมือที่ไม่ธรรมดาของช่างภาพ Action มากประสบการณ์คนนี้ คุณกิ๊กบอกกับเราอีกว่า “เสน่ห์ของการถ่ายภาพ Action คือความตื่นเต้นและความเร้าใจที่ถูกถ่ายทอดผ่านภาพนิ่ง คือการหยุดในสิ่งที่สายตาไม่สามารถหยุดได้ในกรอบสี่เหลี่ยมของภาพถ่าย” ซึ่งคุณกิ๊กได้อธิบายคุณสมบัติของช่างภาพ Action ที่ดีให้เราฟังอยู่หลายข้อ วันนี้เลยจะมาสรุปเป็น How to สั้นๆ จากมุมมองคุณกิ๊กให้ฟังกันครับ

1. พร้อมทุกสถานการณ์ : การถ่ายภาพ Action ไม่เหมือนแนว Portrait หรือ Pack Shot ที่มีเวลาปราณีต มันต้องเร็วเพื่อแคปเจอร์โมเมนต์สำคัญให้ทัน ในส่วนนี้เรื่องอุปกรณ์มีความสำคัญค่อนข้างมาก กล้องที่ใช้ต้องเข้ามือ เรื่องโฟกัสก็สำคัญทั้งความเร็วและจุดโฟกัสที่ครอบคลุม อีกอย่างที่ชอบในกล้อง Canon EOS R ตัวนี้คือช่องมองภาพที่แสดงค่าต่างๆ ช่วยให้เราไม่ต้องละสายตาจากช่องมองภาพ เราเลยไม่พลาดช็อตสำคัญๆ

2. เรื่องราวสำคัญที่สุด : จินตนาการก็สำคัญไม่แพ้เรื่องความเร็ว ช่างภาพ Action ที่ดีต้องมองให้ออกว่าไฮไลท์ของภาพคืออะไร? เพื่อเล่า Story ใส่เข้าไปในภาพให้มีความแตกต่าง อย่างภาพเครื่องบินรบ ถ้าถ่ายแค่เครื่องบินก็จะเป็นภาพที่ใครก็ถ่ายได้ แต่การที่เรารู้จังหวะในการเล่าเรื่องให้น่าตื่นเต้น ทำให้ผมเลือกที่จะถ่ายช็อต Sonic Boom ที่จะเกิดขึ้นแค่เสี้ยววินาทีมาเป็นไฮไลท์ของภาพนี้ อีกปัจจัยที่สำคัญในการเล่าเรื่องราวให้น่าสนใจคือ Dynamic Range อย่างภาพนี้ เป็นอีกภาพที่ผมเอามา Process ต่อ ซึ่งบอกได้เลยว่าถ้าเก็บเนื้อภาพมาไม่ดีหรือคุณภาพไฟล์จาก EOS R ไม่ดีขนาดนี้ ภาพนี้จะเป็นภาพที่เละมาก แต่พอเอามาแต่งกลายเป็นว่าได้ Mood & Tone ที่น่าสนใจขึ้น

3. การบ้าน = ข้อมูล : ยิ่งมีข้อมูลในมือมากเท่าไหร่ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์และคาดการณ์เหตุการณ์สำคัญต่างๆ เพื่อการทำงานที่ง่ายและได้ภาพที่ Impact มากยิ่งขึ้น อย่างช็อตที่เครื่องบินโชว์ผาดแผลง เราต้องทำการบ้านว่าเครื่องบินจะบินในท่าไหนบ้าง? การทำ Sonic Boom ของนักบินเค้าจะทำในตำแหน่งไหน? หรือบางจังหวะที่เครื่องบินรบเปลี่ยนองศาเลี้ยวกระทันหันเราต้องรู้ว่ามันจะเกิดไอน้ำเหนือผิวปีกจนเหมือนเป็นควันขึ้นมา แม้กระทั่งความชื้นในอากาศของวันนั้นมากพอที่จะทำให้เกิดเอฟเฟกต์แบบนี้มั้ย? หรือพอเกิดเหตุการณ์ที่เราคาดไว้แล้วเราต้องทำยังไงกับมันบ้าง? ควรจะปรับกล้องยังไง? แต่ก็ไม่ใช่ว่ามีข้อมูลแล้วมันจะออกมาเป็นแบบนั้นเสมอไป เรายังต้องอดทนรอเพื่อให้ได้จังหวะที่เราต้องการด้วยเหมือนกัน

4. เลือกเทคนิคให้เหมาะกับภาพ : อย่างภาพที่ถ่ายด้วย Canon EOS R เซ็ทนี้ใช้เทคนิคหลักๆ อยู่ 2 เทคนิคเทคนิคแรกคือการ Panning ที่เป็นการจับความเคลื่อนไหวของวัตถุที่เคลื่อนที่เร็วๆ โดยใช้ Speed Shutter ที่ช้ากว่าปกติ แล้วใช้วิธีแพนหน้ากล้องกวาดตาม ทำให้ได้ภาพวัตถุชัดและแบ็คกราวน์วิ่งเป็นเส้นๆ ซึ่งจำนวนจุดโฟกัสที่เยอะช่วยทำให้การ Grouping เพื่อจัด Compose ในการถ่าย Panning มีความหลากหลายและสะดวกยิ่งขึ้น ส่วนอีกหนึ่งเทคนิคคือการใช้ Speed Shutter ที่เร็วเพื่อหยุดวัตถุให้อยู่กับที่หหรือที่เรียกว่า Stop Action ซึ่งการถ่ายภาพเครื่องบินบนท้องฟ้าที่แบคกราวด์มีความคลีนกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ การมีเซ็นเซอร์โฟกัสที่ครอบคลุมก็ช่วยให้การ Tracking วัตถุทำได้แม่นยำมากขึ้น

             นอกจากคุณสมบัติของช่างภาพสาย Action แล้ว คุณกิ๊กยังสรุปให้เราฟังอีกว่ากล้อง Canon EOS R มีฟังก์ชันอะไรบ้างที่ตอบโจทย์การถ่ายภาพ Action หลักๆ ก็จะเป็นเรื่องของการใช้งานกับเลนส์ EF ผ่านตัว Adapter เพราะภาพ Action ส่วนใหญ่ต้องใช้เลนส์เฉพาะ แถมยังใช้ประสิทธิภาพต่างๆ ของกล้องได้อย่างเต็มที่ เช่น ความเร็วโฟกัสที่ไม่ตกเป็นต้น คุณภาพไฟล์ที่ดีก็เป็นจุดเด่นที่ทำให้เราสามารถเอาภาพไปทำอะไรต่อได้อีกเยอะ เซ็นเซอร์ออโตโฟกัสที่รวดเร็วและจำนวนจุดเยอะทำให้ไม่ต้องกังวลเลยว่าภาพที่ได้จะหลุดโฟกัส หลังจากได้ลองสำรวจตัวเองกันไปแล้วก็อย่าลืมเลือกกล้องที่เหมาะกับสไตล์การถ่ายภาพของตัวเองกันด้วยนะครับ