เทคนิคที่เรานำมาแชร์ เรียกว่า Rolling หรือ บางคนเรียกว่า Panning Photography เป็นการ การถ่ายภาพโดยการแพนกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่นั่นเอง เทคนิคนี้ เราขอวางระดับความยากไว้ที่ ความเร็วในการเคลื่อนไหวของวัตถุ ยิ่งวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ยิ่งถ่ายาย ผู้ถ่ายจำเป็นต้องมีความเข้าใจเรื่องเบสิกการถ่าย ภาพขั้นต้น โดยเฉพาะเรื่องของความเร็วชัตเตอร์
ตั้งชัตเตอร์สปีดให้ช้า ในระดับ 1/40, 1/30, 1/25, 1/20, 1/15, 1/13, 1/10, 1/8 ต่อวินาที
ยิ่งใช่ชัตเตอร์สปีดช้าจะทำให้ภาพดูมีความเคลื่อนไหว ให้ระวังไว้ ว่ายิ่งความเร็วชัตเตอร์ช้าเท่าไหร่ ความเคลื่อนไหวที่เห็นในภาพก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น สำหรับการเริ่มต้นเราขอแนะนำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ประมาณ 1/30–1/40 วินาทีดูก่อน เมื่อชำราญแล้วค่อยลดความเร็วชัตเตอร์ลงอีกจะได้ภาพที่สวยขึ้น
ทั้งนี้ค่าความเร็วชัตเตอร์ควรจะขึ้นอยู่กับความเร็ววัตถุที่เราจะถ่าย ถ้าสิ่งที่เราจะถ่ายเคลื่อนที่เร็วมากๆอย่างรถแข่ง หรือเครื่องบิน เราอาจจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้นมาหน่อย เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ภาพให้มากขึ้น แต่หากวัตถุที่เราถ่ายเคลื่อนที่ช้าๆ อย่างเช่นคนกำลังวิ่ง เราอาจจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงมา เพื่อให้แากหลัง ตัวแบบดูมีความเคลื่อนไหวมากขึ้น
ค่า ISO ปรับไว้ที่ 100 ดีสุดครับ ความเร็วชัตเตอร์ช้าระดับนี้ให้แสงสว่างพอ ไปห่วงเรื่องแสงจ้าเกินไปดีกว่า ถ้าถ่ายกลางคืนแสงน้อย ค่อยปรับชดเชยขึ้นมา ค่ารูรับแสง(F)ในโหมด TV ไม่ต้องไปสนใจเพราะมันจะทำหน้าที่ของมันเองโดยอัตโนมัติ
ลดความเร็วชัตเตอร์ให้น้อยลงกว่าการถ่ายภาพปกติ เราใช้ความเร็วที่น้อยกว่าปกติ เป็นปัจจัยของการถ่ายภาพ แนวนี้ คือเมื่อความเร็ว
ชัตเตอร์ต่ำ โอกาสที่เราจะเบลอพื้นหลังด้วยการ Panning ก็จะทำได้มากขึ้น แต่นั้นก็หมายความว่าเราก็ต้องถือกล้องให้มั่นคง เช่นเดียวกัน เลือกพื้นหลังที่เหมาะกับการทำ PANNINGการเลือกดพื้นหลังควรดูว่าเมื่อเกิดการเบลอนั้นสวยหรือไม่ หรือรกเกินไป ส่วนใหญ่เราจะแพนนิ่งให้เข้ากับเส้นของพื้นหลัง ทำให้เกิดมูฟเมนต์ที่ดูลงตัว
ใช้ระบบ FOCUS ต่อเนื่อง ( Ai Servo ) คือการให้กล้องโฟกัสอยู่ตลอดเวลาเมื่อมีอะไรมาผ่านจุดที่เราได้โฟกัสไว้ ทำให้เราสามารถโฟกัสได้ตรงจุด และรวดเร็ว
การถ่าย Rolling หรือ PANNING ก็ต้องฝึกให้ชำนาญ เทคนิคนี้อ่านแค่บทความอย่างเดียวไม่พอครับ ต้องออกไปฝึกบ่อย ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ด้วย
เวลาเราแพนกล้อง พอถ่ายเสร็จให้แพนต่อไปเรื่อยๆอีกนิดนึง เพื่อความชัวร์ว่าภาพของเราจะออกมา Smooth เพราะถ้าเราแพนแค่นิดเดียวมันมีโอกาสที่จะทำให้ภาพเราไม่ชัดทั้งภาพได้ และวัตถุออกมาเบลอไม่สวยงาม เราจะหวังผลกับภาพที่ออกมาได้มากขึ้น ถ้าเราแพนกล้องได้ตรงกับความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุพอดี
การถ่ายภาพแบบแพนกล้องตามวัตถุนั้นต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ บอกเลยว่าไม่ยาก และกไม่ง่าย เราไม่มีทางได้ภาพดี ด้วยการอ่านบทความนี้แล้วออกไปกดชัตเตอร์แค่สองสามครั้ง กว่าจะได้สักภาพอาจต้องผ่านการกดชัตเตอร์เป็นสิบ ถ้าออกไปทดลองแล้ว ยังไม่ได้ภาพตามที่คิด อย่าท้อ อดทนฝึกฝน ถ่ายไปเรื่อยๆ เดี๋ยวภาพสวยๆจะมาเองครับ