สำหรับบางคน… สิ่งสำคัญที่สุดของการเดินทางอาจไม่ใช่จุดหมาย แต่อาจเป็นเรื่องราวระหว่างทาง การได้เห็นมุมมองที่ถูกถ่ายทอดจากสองข้างทาง จึงเปรียบเสมือนการทำความรู้จักตัวตนของคนๆ นั้น ไม่ต่างจากสิ่งที่เราได้เห็นผ่านเลนส์ Canon EOS R ของคุณนัย ภคินัย ยิ้มเจริญ ช่างภาพสตรีทตัวพ่อที่ถ่ายทอดมุมมองอันน่าสนใจผ่านประสิทธิภาพของตัวกล้องที่ตอบโจทย์สายเดินถ่ายอย่างแท้จริง ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ
ด้วยประสบการณ์การทำงานสายทีวีในฐานะ Producer ที่รับหน้าที่ตั้งแต่ คิดงาน ถ่ายทำ และตัดต่อแบบ All-in-One บวกกับการเล่าเรื่องสไตล์ Documentary ที่ตรงไปตรงมา ทำให้ผลงานแนวสตรีทของคุณนัยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ให้น้ำหนักกับความชัดเจนในการสื่อสารเรื่องราวและความรู้สึกตรงหน้า คุณนัยบอกกับเราว่าการถ่ายงานของคุณนัยมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน นั่นคือ Information ข้อมูลทุกอย่างจะต้องถูกเล่าต่ออย่างครบถ้วนเหมือนกับสิ่งที่ตาเราเห็น โดยเพิ่ม Emotional เข้ามาประกอบเรื่องราวให้มีสีสันมากขึ้น เช่น การใช้แสงเงาเข้ามาช่วยให้เรื่องที่เล่ามีมิติ แต่ก็ต้องไม่มากเกินจริงจนเหมือนเป็นการหลอกคนดู ความแตกต่างของภาพนิ่งและวิดีโอในมุมมองของคุณนัยคือภาพนิ่งจะเป็นเหมือนการเว้นช่องว่างให้คนไปคิดต่อ ส่วนวิดีโอจะใช้วิธีการสปอยด์คนดูด้วยทางกล้อง วิธีการตัด หรือแม้แต่เพลงที่ใช้ประกอบ เพื่อให้คนดูเข้าใจและโฟกัสกับคอนเทนต์ตั้งแต่เริ่มจนจบ
โปรเจก Every Street Has Story To Tell คุณนัยได้ร่วมกับ Canon ถ่ายทอดมุมมองความแตกต่างของการถ่ายภาพแนวสตรีทระหว่าง 2 เมืองหลวงจาก 2 ทวีป “กรุงเทพฯ” และ “มอสโก” ด้วยกล้อง EOS R
สิ่งที่ทั้งสองโลเคชั่นไม่เหมือนกันเลยคือเรื่องราวที่เป็นไฮไลท์ของแต่ละเมือง แน่นอนว่าเสน่ห์ของกรุงเทพฯ คือวิถีชีวิต ศิลปะและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในย่านชุมชนต่างๆ หรือริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ (ภาพย่านพระนคร สะพานพุทธ หรือตลาดน้อย)
ภาพแรก “หุ่นละครเล็ก” ที่ถูกสืบทอดกันมาอย่างยาวนานและเป็นมนต์เสน่ห์ของศิลปะการแสดงไทยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังชุมชนแห่งนี้ การถ่ายทอดแอคชั่นของการแสดงที่ใกล้ชิดกับผู้ชมที่กำลังตั้งใจชมทำให้การแคปเจอร์โมเมนต์นี้ต้องใช้ Speed Shutter ที่สูงพอในสภาวะแสงน้อยการดัน ISO ช่วยก็ทำให้ได้ภาพออกมาสวยงาม
“สะพานพุทธ” เรียกได้ว่าเป็นโลเคชั่นที่คุณนัยผูกพันธ์มาตั้งแต่เด็ก แต่ก็มีแค่ไม่กี่ครั้งในชีวิตที่เขามีโอกาสได้ยืนดูพระอาทิตย์ตกในช่วงเวลาที่ท้องฟ้ายามเย็นกลายเป็นสีทองอร่ามจนต้องยกกล้องขึ้นมาถ่ายแบบในภาพนี้ คุณนัยพูดถึงการจัดองค์ประกอบของภาพนี้ว่าอยากได้ภาพคนกำลังนั่งชมวิวอยู่บนสะพานพุทธ เลยต้องถ่ายจากสะพานพระปกเกล้า โดยต้องการเก็บทั้งภาพคน วิวพระอาทิตย์ตก และแม่น้ำที่มีเรือแล่นผ่านวัดและบ้านเรือนริมน้ำ แต่ด้วยความที่ต้องถ่ายย้อนแสง เลยปล่อยให้กล้องคำนวณค่าเฉลี่ยแสงแบบออโต้ ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดของภาพมาได้อย่างครบถ้วน
ภาพสตรีทอาร์ตภาพนี้ คุณนัยต้องการสื่อสารความ Contrast ของศิลปะสมัยใหม่ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเก่า เลยเลือกที่จะรอให้มีคนเดินผ่านแล้วกดชัตเตอร์เก็บความสมานฉันท์ขององค์ประกอบที่แตกต่างให้อยู่ร่วมกันในเฟรมเดียว
ข้ามมาที่มอสโกกันบ้าง คุณนัยมองว่าไฮไลท์ของเมืองหลวงยุโรปตะวันออกแห่งนี้คือสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์อันยาวนาน การวางผังเมืองที่เป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดินซะเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น
สถานี Metro ที่มอสโกขึ้นชื่อเรื่องความวิจิตรตระการตาของศิลปะและสถาปัตยกรรมที่แทรกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันของคนที่นี่ ซึ่งแต่ละสถานีก็มีมุมให้ถ่ายรูปไม่ซ้ำกันเลย ช็อตนี้อยากสื่อให้เห็นวิถีชีวิตของคนมอสโกที่สัญจรด้วยรถไฟใต้ดิน เลยรอจังหวะรถไฟเปลี่ยนขบวนแล้วใช้ Speed Shutter ที่ไม่สูงมากเพื่อเก็บความเคลื่อนให้ของผู้คน แล้วใช้การถ่ายต่อเนื่องหลายๆ ภาพ เพื่อมาเลือกจังหวะของภาพที่ชอบ
ถนนที่มอสโก โดยเฉพาะเขต Garden Ring ฝั่ง Kremlin (เทียบได้กับฝั่งพระนครของบ้านเรา) พื้นถนนดีและสะอาดมาก เพราะทุกเช้าเราจะเห็นเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดและรถฉีดพื้นถนนเป็นประจำ ยิ่งได้ออกมาเดินเล่นก็ยิ่งอิจฉา
นอกจากภาพนิ่งแล้วคุณนัยยังได้เก็บบรรยากาศทั้ง 2 ทริปในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหวมาฝาก ซึ่งขอบอกไว้ก่อนเลยว่าวิดีโอทั้ง 2 ตัวนี้ถ่ายแบบ Handheld ไม่มีการใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยประสิทธิภาพของระบบกันสั่นแบบดิจิทัลของกล้อง บวกกับประสิทธิภาพของระบบชดเชยแสงอัตโนมัติ และการเปลี่ยนจุดโฟกัสผ่านหน้าจอ Touchscreen ที่ EOS R ทำได้เนียนมาก ช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้การทำงานสายสตรีทสะดวกสบายขึ้นมาก
สามารถติดตามชมคลิปวิดีโอได้ที่ลิ้งด้านล่าง
กรุงเทพฯ : https://life.canon.co.th/photo.html?pid=33180
มอสโก : https://life.canon.co.th/photo.html?pid=33179
สุดท้ายคุณนัยให้เหตุผลกับเราสั้นๆ ว่ากล้อง Canon EOS R เหมาะกับการทำงานแนวสตรีทเพราะความฉลาดของระบบอัตโนมัติ ทำให้ช่างภาพไม่ต้องเสียเวลาปรับหรือตั้งค่าต่างๆ และเอาเวลาไปโฟกัสกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารได้อย่างเต็มที่แทน เพราะงานของกล้องคือการบันทึกส่วนงานของเราคือการเล่าเรื่องราว