ถ้าจะให้นิยามความหมายของคำว่า “มืออาชีพ” เชื่อว่าหลายคนคงมีคำจำกัดความของตัวเองในบริบทที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับช่างภาพอาชีพที่ประกอบอาชีพ “ช่างภาพสายข่าว” อย่าง “คุณชุม-อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา” ช่างภาพประจำสำนักข่าวระดับโลกอย่าง Reuters คนนี้ คำว่า “มืออาชีพ” คือต้องพร้อมทุกสถานการณ์ และต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ภาพข่าวที่ดีที่สุด
คุณชุมเล่าถึงแบคกราวด์บนเส้นทางอาชีพช่างภาพที่จนถึงตอนนี้ก็เดินทางมาเกือบจะครบ 20 ปีให้เราฟังว่า ได้เริ่มถ่ายภาพเก็บสะสมผลงานจากการถ่ายงานรับปริญญาบ้าง ถ่ายเวดดิ้งบ้าง ก่อนมีโอกาสมาทำแมกกาซีนและสร้างชื่อจากการถ่ายภาพสารคดีให้กับ National Geographic และยังเคยร่วมงานกับองค์กรระหว่างประเทศอย่าง Greenpeace และ UNICEF จนกระทั่งได้เข้าสู่สายงานข่าวอย่างเต็มตัว ซึ่งหลังจากที่พูดคุยกันไม่นานเราก็สัมผัสได้ถึงความเป็นมืออาชีพผ่านมุมมองการทำงานที่รู้ลึกรู้จริงและแนวทางที่ชัดเจนในทุกงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ
“ช่างภาพข่าวเลือกงานไม่ได้… บางวันก็ถ่ายข่าวกีฬา บางวันถ่ายอีเว้นท์ บางวันถ่ายอาชญากรรม”
ด้วยประสบการณ์ทำงานที่หลากหลาย ผ่านมือมาแล้วเกือบทุกแนว ทำให้เมื่อหันมาจับงานถ่ายภาพข่าว ก็สามารถเอาสกิลเหล่านั้นมาปรับให้เข้ากับข่าวแต่ละประเภท เพราะธรรมชาติของงานสายนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้าง Random และคาดเดาไม่ได้ ซึ่งคุณชุมเองก็มองว่าเป็นเหมือนโอกาสให้เขาได้พัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ อีกด้วย
“เราต้องมองข่าวให้ขาด ถ้าไปทำข่าวแผ่นดินไหว วันแรกจะต้องได้รูปอะไรบ้าง?
ซากปรักหักพัง หน่วยกู้ภัยกำลังกู้ศพ หรือชาวบ้านมารอรับศพ ต้องรู้ว่าอะไรคือประเด็นที่จะเอามาทำข่าว”
การฝึกให้ตัวเองมีความพร้อมที่จะถ่ายได้ในทุกสถานการณ์ และอ่านข่าวให้ขาดเพื่อดึงเอาภาพที่ดีที่สุดของเหตุการณ์ออกมาเล่าให้ได้ ทำให้คุณชุมขึ้นแท่นมือวางอันดับต้นๆ ของเอเชียที่ถูกเรียกไปทำข่าวประเภท Breaking News ที่ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวโศกนาถกรรมอยู่บ่อยครั้ง แต่ในขณะเดียวกันคุณชุมก็ยอมรับว่ามีความสนใจส่วนตัวในงานประเภทสารคดี ที่ต้องอาศัยการฝังตัว เรียนรู้กับสิ่งที่จะถ่าย แล้วค่อยๆ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพถ่าย ซึ่งแนวทางการทำงานค่อนข้างแตกต่างกับงาน Breaking News ที่ต้องการความรวดเร็วและทันเหตุการณ์แบบคนละขั้วเลยทีเดียว
“ทุกอย่างหล่อหลอมจนกลายเป็นสัญชาตญาณ”
นอกจากสัญชาตญาณในการมองข่าวให้ขาดแล้ว คุณชุมยังบอกอีกว่าสัญชาตญาณในการเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ก็สำคัญมาก อย่าง Canon EOS R ตัวนี้คุณชุมบอกกับเราว่าเขาเลือกใช้กับซีนข่าวที่ค่อนข้าง Extreme ซึ่งคุณชุมอธิบายต่อว่า Extreme ในที่นี้ไม่ใช่เรื่องของสภาพแวดล้อมแต่เป็น Extreme ในแง่ของการได้ภาพ
อย่างข่าวแรกที่คุณชุมเลือกมาเล่าให้เราฟังเป็นภาพข่าวเหตุการณ์ระเบิดที่โบสถ์ในศรีลังกาในวัน Easter Sunday มีผู้เสียชีวิตกว่า 70 ราย ซึ่งโบสถ์แห่งนี้ถูกปิดตายเพื่อให้ตำรวจเก็บหลักฐานจนถึงวันศุกร์ วันนั้นเป็นครั้งแรกที่เปิดให้สื่อมวลชนเข้าไปเก็บภาพ พื้นที่นองไปด้วยน้ำผสมเลือดบรรยากาศข้างในมืดสนิทไม่มีไฟติดเลยซักดวง คุณชุมเลยเลือกใช้ EOS R ซึ่งก็โฟกัสเข้าทันที และก็ได้เป็นภาพแรกที่สภาพแสงตรงกับความเป็นจริงออกมา ส่วนภาพที่สองถ้าลองสังเกตดีเทลในเงาที่สะท้อนบนพื้นจะเห็นว่ากล้องเก็บมาได้ครบทั้งหมด
ข่าวต่อมาเป็นข่าวแนว Daily Life ซึ่งคุณชุมบอกกับเราว่าเป็นช่วงหลังจากที่กลับมาจากศรีลังกาพอดี เลยมีประสบการณ์ว่ากล้อง Canon EOS R โฟกัสในที่แสงน้อยได้ดี เลยเลือกหยิบ EOS R ไปตัวเดียวเพราะไปถ่ายช่วงค่ำพอดีโดยใช้เลนส์ 24/105 กับ 50 mm. ที่ต้องใช้ผ่าน Adapter ซึ่งก็ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดย Dynamic Range ของไฟล์ที่ออกมาก็ดีมาก
ข่าวสุดท้ายเป็นงานพระราชพิธีซึ่งในเรื่องของความเร็วโฟกัสก็ถือว่าทำได้ดีในสถานการณ์ที่ต้องการจับแอคชั่น สามารถจับจังหวะทหารรักษาพระองค์กำลังยิงปืนใหญ่ ส่วนการถ่ายภาพแนว Landscape ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้องถ่ายจากมุมสูง ใช้ ISO ต่ำกับเลนส์ทางยาวโฟกัสเยอะๆ อย่างรูปวัดพระแก้วในช่วง Blue Hour ก็ได้ไฟล์ออกมาคุณภาพยอดเยี่ยม แถมโฟกัสก็ไม่ยากเลย
คุณชุมปิดท้ายให้เราฟังถึงสิ่งที่ Canon EOS R เข้ามาช่วยให้การทำงานในฐานะช่างภาพสายข่าวมืออาชีพสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่นช่องมองภาพ EVF ที่เห็นผลลัพธ์ได้ทันที ไม่ต้องเดา Exposure ก็ช่วยทำให้ประหยัดเวลาทำงาน ความเร็วโฟกัสที่ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากล้อง DSLR ตัวท็อปๆ โดยเฉพาะความแม่นยำในที่มืดของ Auto-Focus ก็ทำให้มั่นใจว่าจะได้ภาพข่าวแน่นอนแม้ในสภาวะที่แสงน้อย ซึ่งจากทั้งหมดนี้คุณชุมก็นิยามกล้อง EOS R ตัวนี้เอาไว้ด้วยประโยคสั้นๆ ที่ว่า “What you see is what you get.”