FASHION come and go, but IMAGINATION lasts forever! แฟชั่นมี In ก็มี Out แต่สิ่งที่จะสร้างสรรค์ภาพถ่ายแฟชั่นดีๆ ซักภาพให้อยู่ตลอดไปคือ “จินตนาการ” นี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการพูดคุยกับช่างภาพแฟชั่นมากประสบการณ์ที่ชื่อ “น็อต-สรยุทธ พุ่มภักดี” คุณน็อตคว่ำหวอดในวงการแฟชั่นมากว่า 10 ปี ผ่านการทำงานให้กับนิตยสารหัวดังๆ มาแล้วมากมาย ด้วยแพสชั่นที่อยากสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างและไม่ต้องการติดอยู่ในกรอบของโจทย์ทางการตลาด ทำให้มุมมองการทำงานของเขาน่าสนใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานแทบจะทุกประเภท
ส่วนผสมที่แตกต่างอย่างลงตัวในกระบวนการคิดแบบ Artist ที่ใช้จินตนาการวาดภาพในหัว ใช้เวลาว่างค้นหาไอเดียใหม่ๆ บวกกับการลงมือทดลองแบบนักวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือนการ “บริหารต่อมจินตนาการ” จนทำให้เกิดเป็นผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้จริง และเมื่อจินตนาการในหัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา คุณน็อตก็ไม่ลืมที่จะครอบมันด้วยคอนเซปต์ที่สามารถสื่อสารแมสเสจที่ต้องการออกไปให้ Touch กับคนอีกด้วย ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้ผลงานภาพถ่ายแฟชั่นในสไตล์ของคุณน็อตมีเอกลักษณ์และยังใหม่อยู่ตลอดเวลา
สำหรับคุณน็อตคำว่า “แฟชั่น” ไม่ใช่ตัว Subject อย่างเสื้อผ้าหน้าผมหรือ Trend ที่ดูฉาบฉวย แต่คือการ Mix & Match เพื่อหาจุดร่วมระหว่างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และวิธีการที่ใช้สื่อสาร โดยมีจินตนาการหรือที่คุณน็อตเรียกติดปากว่า “การเพ้อฝัน” เป็น Kickstarter สำคัญที่นำไปสู่การค้นหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อนำเสนองานแฟชั่นออกไป
คุณน็อตบอกกับเราอีกว่าการถ่ายทอดภาพในหัวออกมาให้ตรงกับที่จินตนาการไว้ต้องอาศัย Tool ที่มีความสามารถในการประมวลผลที่ดี อย่างระบบประมวลภาพ DIGIC 8 ที่รวดเร็วและแม่นยำใน Canon EOS R ก็ช่วยทำให้ผลงานแฟชั่นทั้ง 2 เซ็ตออกมาได้ตรงตามที่คิดเอาไว้ ซึ่งจุดเริ่มต้นของไอเดีย AFTER 6 นี้เกิดขึ้นจากความอยากเล่าเรื่องชีวิตหลังเลิกงานของผู้หญิง 2 คนที่ปลดปล่อยตัวตนและความรู้สึกบางอย่างที่ในเวลางานไม่สามารถทำได้ โดยหยิบความ Contrast ของอารมณ์ของแบบและ Mood & Tone ของภาพมาเล่น
ในเซ็ตนีออนคุณน็อตตั้งใจอยากให้โทนภาพทั้งหมดดูสนุกสนานโดยการใช้แสงที่ดู Colourful ตัดกับอารมณ์เศร้าของหญิงสาวในภาพที่เพิ่งทะเลาะกับแฟนแต่ต้องเก็บซ่อนอารมณ์เอาไว้ตั้งแต่เช้าและปลดปล่อยออกมาระหว่าง Hang Out กับเพื่อนหลังเลิกงาน ส่วนในเซ็ตบัลเล่ต์คุณน็อตต้องการถ่ายทอดอารมณ์ของสาวนักบัลเล่ต์ที่มีความสุขกับสิ่งที่ทำและได้ปลดปล่อยตัวตนเต็มที่หลังจากทำงานมาทั้งวัน โดยเลือกคุม Mood & Tone และไลท์ติ้งให้ดูดาร์กๆ หม่นๆ และใช้สโมคสร้างบรรยากาศให้ดูกึ่งจริงกึ่งฝัน ซึ่งความขัดแย้งของภาพทั้งสองเซ็ตสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงของมนุษย์ที่ไม่มีความแน่นอนเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเดี๋ยวสุขเดี๋ยวศร้าโดยที่ไม่มีใครหนีพ้น
ด้วยความเป็นคนมีภาพในหัวชัดเจนอยู่แล้ว คุณน็อตจึงเลือกปรับ Custom Preset ให้ตรงกับภาพที่คิดไว้ก่อนลงมือถ่ายจริงไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีหรือ White Balance ซึ่งการมี DIGIC 8 ที่เป็นเหมือนสมองของกล้อง EOS R ก็ช่วยให้การประมวลผลค่าต่างๆ ทำได้แม่นยำและรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้การมี Face-Detection และ Eye-Detection ยังทำให้การสื่อสารผ่านสีหน้าและดวงตาโดยเฉพาะในคอนเซปต์ที่เล่นกับอารมณ์แบบนี้ชัดเจนจนคุณน็อตบอกกับเราว่าผลงานเซ็ตนี้ออกมาดีเกินกว่าที่คาดไว้ ก่อนทิ้งท้ายด้วยการให้เหตุผลที่กล้อง Canon EOS R ตัวนี้เหมาะกับการทำงานสายแฟชั่นเอาไว้ว่าเป็นกล้องที่ตอบจินตนาการของเราได้อย่างครบถ้วนและตรงใจจริงๆ