จาก 2 ภาพด้านบน เราอยากให้คุณลองหาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ภาพนี้

แต่ละคนมีคำตอบอะไรในใจกันบ้าง?

เราจะเฉลยใน 5 บรรทัดถัดไป อย่าเพิ่งแอบดูล่ะ!!

ลองคิดสักครู่ก่อน แล้วค่อยเลื่อนบรรทัดลงไป

 

 

 

 

 

     จาก 2 ภาพที่ดูเหมื่อนไม่มีอะไรเกี่ยวพันกันเลยนี้ภาพทั้ง คู่เป็นฝีมือภาพถ่ายโดยคนๆ เดียวกัน นั้นก็คือ คุณกานต์-เกษม จรรยาวรวงศ์ ภาพแรกคุณกานต์ถ่ายตอนหัดถ่ายรูปใหม่ๆ หรือราวสิบปีก่อน ส่วนรูปที่สอง เป็นผลงานในปัจจุบันที่เขากดชัตเตอร์ในฐานะช่างภาพอาชีพ ปัจจุบันคุณกานต์เป็นช่างภาพประจาที่ Lips LOVE นิตยสารแนวไลฟ์ สไตล์ ที่เขาดูแลและรับผิดชอบตั้ง แต่ภาพปก เซ็ต แฟชั่น รวมไปถึง คอลัมน์เล็กๆ น้อยๆ ในเล่ม นอกจากนี้คุณกานต์ยังเป็นช่างภาพแฟชนั่ และโฆษณาอีกด้วย

     ย้อนกลับไป 12 ปีก่อน ผมยืมกล้องมาจากเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมได้จับกล้องแบบ SLR มันเป็นกล้องฟิล์ม SLR แบบแมนนวลพร้อมเลนส์ 50mm ขอสารภาพว่าผมยืมมาโดยที่ตัวเองยังถ่ายภาพ และยังวัดแสงไม่เป็นด้วยซ้ำ แค่อยากจะลองถ่ายสนุกๆ ดูเท่านั้น ยังจำได้แม่นว่า ฟิล์มม้วนแรกๆ นั้นภาพส่วนใหญ่เสียซะเกือบหมด ไม่มืดไปก็สว่างไป แถมมีบางม้วนที่ใส่ฟิล์มผิดทำให้ฟิล์มเสียไปเลยทั้งม้วน ภาพที่ออกมาก็ไม่สวยเอาซะเลยจนผมเองเริ่มจะถอดใจ แต่ในขณะเดียวกัน ความรู้สึกขณะยกกล้อง ขึ้นมามองโลกผ่านเลนส์ก็มีมนต์ขลังอะไรบางอย่าง ทำให้ผมเริ่มอยากศึกษา อยากจะถ่ายรูปให้เป็น บอกตามตรงว่าผมไมรู้หรอกว่าจากวันนั้น นิสิตรัฐศาสตร์คนหนึ่ง จะกลายมาเป็นช่างภาพอาชีพอย่างทุกวันนี้…

 

 

     … ทุกวันนี้ ผมได้เจอคนหลายคนที่รู้สึกอย่างเดียวกับผมในวันนั้น อยากจะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการถ่ายภาพ อยากบอกเล่าเรื่องราวผ่านเลนส์จากมุมมองของตัวเอง ในฐานะช่างภาพคนหนึ่ง หนึ่งในคำถามที่ผมถูกถามบ่อยที่สุดคือ “ถ้าอยากจะเริ่มถ่ายภาพ ควรจะเริ่มต้นด้วยกล้องรุ่นไหนดี?” ถ้าถามผมตอนนี้ คำตอบของผมคือ Canon EOS 1200D ครับ

    ปกติงานหลักๆ ของผมก็คือการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์และถ่ายภาพอาหารครับ แต่ครั้งนี้ผมขอโฟกัสไปที่การถ่ายภาพอาหารแล้วกัน เพราะว่าเรื่องนี้ไม่ค่อยมีคนรีวิวมากนัก ผมเป็นคนถ่ายภาพอาหารแนว Natural Style คือเน้นถ่ายแสงธรรมชาติ ไม่ได้เน้นถ่ายงานในสไตล์ Studio Shot หรือ Product Shot สักเท่าไร และข้อดีของการถ่ายภาพแสงธรรมชาตินี้ก็มีอยู่มาก อาทิ ภาพจะมีเสน่ห์กว่า และทำให้อาหารดูน่ากินกว่าด้วย

     เพราะอะไร?

     ถ้าให้ตอบแบบสั้นๆ คงต้องบอกว่าเพราะ Canon EOS 1200D มีฟังก์ชั่นครบถ้วนสำหรับการถ่ายภาพ ในราคาที่สมเหตุสมผลมากๆ

 

 

     สิ่งแรกที่ผมเซอร์ไพรส์เลยก็คือ Canon EOS 1200D มาพร้อมชิปประมวลผล DIGIC 4 ซึ่งเป็นตัวใหม่ล่าสุดและเซนเซอร์ CMOS แบบ APS-C ซึ่งสามารถถ่ายภาพนิ่งได้ละเอียดถึง 18 ล้านพิกเซล เทียบกับรุ่นก่อนหน้าคือ 1100D ซึ่งมีความละเอียด 12 ล้านพิกเซลแล้ว ผมถือว่าเป็นการก้าวกระโดดเลยทีเดียว หากคุณนึกไม่ออกว่า 18 ล้านพิกเซลนั้นคุณภาพประมาณไหน ผมเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ว่า คุณสามารถพริ้นต์ภาพขนาด A2 ได้สบายๆ หรือเหลือเฟือสำหรับลงในนิตยสารเลยครับ

     ส่วนชิปประมวลผล DIGIC 4 นั้น เปรียบเสมือนสมองของกล้องครับ ชิปนี้เป็นระบบเอกลักษณ์ของ Canon ซึ่งพัฒนามายาวนานจึงมั่นใจได้ทั้งด้านคุณภาพและความเร็วในการประมวลผล

 

 

     อีกสิ่งหนึ่งที่ผมชอบเป็นพิเศษสำหรับ Canon EOS 1200D คือความเบาครับ น้ำหนักบอดี้เพียง 480 กรัม เมื่อรวมกับเลนส์คิท EFS 18-55 IS II แล้วหนักรวมเพียงราวๆ 600 กว่ากรัมเท่านั้นเอง เรื่องน้ำหนักนี่อย่ามองข้ามนะครับ ถ้าใครเคยต้องถือกล้องนานๆ หรือพกกล้องออกเดินทางแล้วจะรู้ดีว่า น้ำหนักกล้องส่งผลต่อความล้ามากๆ ดีไม่ดีเราอาจจะหมดสนุกตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มถ่ายด้วยซ้ำไป

 

 

     ด้วยน้ำหนักที่เบามากบวกกับช่วงซูมของเลนส์ตัวนี้ที่สามารถถ่ายได้ครอบคลุมตั้งแต่ภาพวิวกว้างๆ ภาพบุคคล ไปจนถึงภาพมาโครหรือการถ่ายสิ่งเล็กๆ อย่างดอกไม้ใบหญ้า มากกว่านั้นด้วยโหมด Scene Intelligent Auto ยังสามารถปรับค่ากล้องโดยอัตโนมัติจากการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทำให้กล้องชุดนี้เหมาะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวมากๆ บอกตามตรง ถึงผมจะเป็นช่างภาพอาชีพแต่เวลาไปเที่ยว ส่วนใหญ่ผมก็ใช้โหมดนี้แหละครับ ที่สำคัญทำให้เพื่อนร่วมทริปที่แม้ไม่เคยใช้กล้อง DSLR มาก่อนก็สามารถถ่ายได้ง่ายๆ ด้วย

 

 

     นอกจากนี้ความไวแสงหรือ ISO ก็เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะหากเราอยากได้ภาพที่บรรยากาศคล้ายกับที่ตาเราเห็นมากที่สุด ซึ่งต้องเก็บแสงตามความเป็นจริงโดยไม่ใช้แฟลช นึกถึงเมื่อตอนผมยังถ่ายด้วยฟิล์ม การเลือก ISO ของฟิล์มให้เหมาะกับสภาพแสงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะมันจะส่งผลต่อรูรับแสงและความไวชัตเตอร์ หากเลือกใส่ฟิล์มผิดเราอาจจะไม่ได้ภาพที่ต้องการเลยก็ได้ Canon EOS 1200D มีช่วงความไวแสงที่กว้างมากคือ ISO 100-6400(และสามารถขยายเพิ่มได้ถึง 12800) ซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้ของการถ่ายภาพได้อย่างมาก ไม่ว่าในสภาพแสงมากหรือน้อยก็ยังมั่นใจได้ว่าเราจะได้ภาพที่ต้องการตามตาเห็น

 

 

     ที่จริง สำหรับผมเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพสวยๆ แล้ว มากกว่านั้น Canon EOS 1200D ยังสามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวคุณภาพดีแบบ FULL HD ได้อีกด้วย ถือเป็นของแถมสำคัญที่ช่วยบันทึกช่วงเวลาดีๆ ของชีวิต หรือหากคุณอยากฝึกด้านภาพเคลื่อนไหวไปด้วยกล้องตัวนี้ก็ตอบโจทย์เช่นกันครับ

 

     สุดท้ายนี้ผมมี “คำ” แนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาฝากผู้ที่เริ่มถ่ายภาพด้วย

1.คิดก่อนถ่าย

ด้วยความที่ผมเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม แต่ละภาพนั้นหมายถึงเงินที่เราจะต้องเสียไป ทำให้กว่าจะถ่ายแต่ละช็อตนั้นผมต้องคิดแล้วคิดอีก วัดแสง ดูคอมโพสจนมั่นใจแล้วจึงกด ซึ่งภายหลังผมพบว่ามันมีประโยชน์มาก พอถึงจุดที่เราชำนาญ เราจะสามารถถ่ายได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เท่าที่สังเกต พอเป็นยุคดิจิตอล ด้วยความที่เราสามารถถ่ายเท่าไหร่ก็ได้ ไม่พอใจก็แค่ลบทิ้งไป แม้จะมีข้อดีคือทำให้เราสามารถถ่ายได้มากขึ้น ฝึกฝนได้มากขึ้นโดยไม่กระทบสตางค์ในกระเป๋า แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เราขาดความประณีตไป

 

2.เริ่มด้วยโหมด M (Manual)

แม้ปัจจุบันกล้องจะมีโหมดออโต้ช่วยให้การถ่ายภาพเป็นเรื่องง่ายดาย แต่สุดท้ายแล้วหากเราต้องการจะควบคุมภาพให้เป็นไปตามที่เราต้องการจริงๆ เราต้องเข้าใจพื้นฐานสำคัญซึ่งก็มีไม่กี่อย่าง อย่างความไวชัตเตอร์ รูรับแสง ISO ในช่วงเริ่มอาจจะทำให้เราติดๆ ขัดๆ ชักช้าไปบ้างแต่มันเป็นเรื่องจำเป็นครับ เพราะเราไม่ได้ต้องการภาพที่แสงพอดีหรือคมชัดเสมอไป บางภาพเราอยากให้มืด บางภาพอยากให้สว่าง บางภาพเราอยากให้สั่นไหว สุดท้ายกล้องเป็นเพียงเครื่องมือ เราต้องเป็นนายของกล้อง ควบคุมทุกอย่างให้ได้

 

3.ดูภาพสวยๆให้มาก ให้หลากหลายและสมํ่าเสมอ

อันนี้สำคัญมาก เพื่อเป็นการเติมอาหารให้สมองและสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง โลกนี้เต็มไปด้วยคนเก่ง การดูรูปสวยๆ ของเขาเหล่านั้นถือเป็นการเรียนรู้ทางอ้อมที่ไม่รู้จบ เปิดมุมมองใหม่ๆ ที่เราคาดไม่ถึง หากเราชอบภาพไหนเป็นพิเศษให้เราลองถามตัวเองดูว่าทำไมเราถึงชอบรูปนั้น เป็นเพราะโทนสี ทิศทางแสง องค์ประกอบภาพ เรื่องราวในภาพหรือเหตุผลอื่นๆ วิธีนี้จะช่วยให้เราเข้าใจวิธีคิดของช่างภาพคนนั้นได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาแนวคิดของเราเองต่อไปด้วย

ผมชอบอารมณ์ตอนเห็นงานสวยๆ มาก บางรูปถึงทำให้หัวใจเราเต้นเร็ว เรียนตามตรงหลายครั้ง เพราะผมรู้สึกอิจฉา อยากจะถ่ายให้ได้อย่างนั้นบ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันชั้นดีให้เราไม่หยุดนิ่ง อีกอย่าง การดูภาพสวยๆ เป็นประจำทำให้เราซึมซับความสวยมาโดยไม่รู้ตัว เหมือนเราอยู่ท่ามกลางสิ่งหอมๆ ถึงระยะหนึ่งตัวเราก็จะหอมไปด้วยนั่นแหละครับ ดูภาพแล้วคิดตามไปเรื่อยๆ รู้สึกตัวอีกที เราอาจจะถ่ายได้สวยไม่แพ้ช่างภาพที่เราชอบเลยล่ะครับ

 

4.หมั่นเติมความรู้ทางเทคนิคใหม่ๆ และทดลองทำ

ปัญหาอย่างหนึ่งของช่างภาพมือใหม่คือ การมีภาพที่อยากได้อยู่ในใจแต่ไม่รู้ว่าจะต้องถ่ายอย่างไร ทุกวันนี้ความรู้มากมายรอให้คุณค้นหาทั้งจากหนังสือ และอินเตอร์เน็ต กล้องตัวเดียวสามารถสร้างเทคนิคได้ไม่รู้จบ แต่การมีความรู้อย่างเดียวก็ไม่พอ เพราะการถ่ายภาพถือเป็นทักษะประเภทหนึ่ง ซึ่งทักษะจะเกิดได้ เราต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนชำนาญ

 

5.พริ้นต์ผลงานตัวเองออกมาชม

การเห็นรูปตัวเองบนกระดาษ ได้ลูบคลำ ได้หยิบไปใส่สมุดภาพ หรือใส่กรอบรูปแขวนบนผนัง มันเป็นความรู้สึกที่พิเศษจริงๆ ครับ ผมไม่รู้จะอธิบายอย่างไรเหมือนกัน แต่มันให้อารมณ์ต่างจากการมองบนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากนัก เหมือนเราได้ทำให้พิกเซลบนหน้าจอ กลายเป็นรูปธรรมจับต้องได้จริงๆ ผมมักจะทำอย่างนี้เป็นระยะเพื่อให้กำลังใจตัวเอง การเห็นรูปฝีมือตัวเองสวยขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราอยากจะถ่ายให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

เคยมีคนถามผมว่าถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะบอกอะไรกับตัวเองเมื่อ 10 ปีก่อน ผมคงมีเรื่องที่จะบอกมากมายเลยครับ แต่ที่แน่ๆ อย่างหนึ่งคือ ถ่ายรูปต่อไปนะ ตัดสินใจถูกแล้วที่ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการถ่ายภาพ และการเดินทางกำลังจะเริ่มต้นแล้ว

 

 

     Martin Luther King Jr. เคยกล่าวไว้ว่า…

     “Take the first step in faith. You don’t have to see the whole staircase, just take the first step”

     คุณพร้อมที่จะเริ่มก้าวแรกหรือยังครับ?