โดย Admin จำนวนผู้ชม: 1903

12 Oct 15



นอกจากองค์ประกอบของภาพ แสงเงา และเลนส์แล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่จะช่วยให้ภาพถ่ายของคุณออกมาเปรี้ยวขึ้น#A0;
ก็คือสีสันของภาพนั่นเอง ซึ่งถ้าเราเลือกใช้สีที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้ตรงใจแล้วล่ะก็#A0;
ภาพถ่ายของคุณก็จะยิ่งออกมาเพอร์เฟกต์ดั่งใจได้ไม่ยาก ว่าแล้วก็กดปุ่ม Menu แล้วเลือกหาฟังก์ชั่น Picture style กันได้เลย
รูปแบบของ Picture Style ที่มาพร้อมกับกล้องมีการตั้งค่าสีให้เลือกอยู่หลายแบบ ได้แก่ Standard, Portrait,#A0;
Landscape, Neutral, Faithful และ Monochrome ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างแบบชัดๆ กันเลยดีกว่า
ในนี้จะขออธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายๆ ก็แล้วกัน


Standard : สำหรับการถ่ายภาพทั่วไป จะได้ภาพที่สีสันสดใส#A0;
Portrait : สำหรับการถ่ายภาพบุคคล สไตล์นี้จะได้สีผิวที่ใกล้เคียงกับสีผิวตามธรรมชาติ#A0;
Landscape : สำหรับภาพที่ต้องการเพิ่มสีสันให้จัดจ้าน มีความคมชัด อีกทั้งยังมีความเปรียบต่างมากขึ้นกว่าสไตล์ Standard อีกด้วย#A0;
Neutral : สไตล์ธรรมชาติ สไตล์นี้จะไม่มีการปรับแต่งใดๆ จากตัวโปรแกรมเลย ที่สำคัญให้คอนทราสที่ต่ำ#A0;
ทว่าเก็บรายละเอียดได้ดี จึงเหมาะมากๆ สำหรับนักถ่ายภาพที่ต้องการนำมา Process ต่ออีกครั้งด้วยโปรแกรมแต่งภาพ#A0;
Faithful : สไตล์นี้ให้สีสันเหมือนที่ตาเห็นหรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ลักษณะการใช้งานก็จะคล้ายสไตล์ Neutral นั่นเอง#A0;
Monochrome : สไตล์ภาพขาว-ดำ หรือจะตั้งเป็น Auto ก็ได้




 

นอกจากนี้ในกล้องยังมีอีก 3 สไตล์ ที่ให้เราปรับตั้งค่าและบันทึกค่านั้นไว้ใช้งานตามรูปแบบของ ตัวเองได้ ก็คือ User 1, User 2 และ User 3#A0;แต่ถ้ายังไม่จุใจ Canon เขามีอีกหลายสไตล์ให้โหลดมาใช้แบบไม่คิดสตางค์ด้วย

การติดตั้ง Picture Style ใหม่ใส่ไว้ในกล้องก็ไม่ยาก
Step.1 ติดตั้งซอฟท์แวร์ EOS Utility Ver 2.6 หรือเวอร์ชั่นใหม่กว่าลงในคอมพิวเตอร์
Step.2 ดาวน์โหลดไฟล์ Picture Style ที่ชื่นชอบลงในคอมพิวเตอร์ http://www.canon.co.jp/imaging/picturestyle/file/


 

Step.3 เลือกเมนู the communication setting ในตัวกล้อง



 

Step.4 เริ่มเปิดใช้งานซอฟท์แวร์ EOS Utility ที่คอมพิวเตอร์
 

4.1 ต่อกล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยใช้สาย USB แล้วเปิดใช้งานซอฟแวร์ EOS Utility เลือกที่ Camera settings/Remote shooting


 

4.2 แล้วเลือกไอคอนรูปกล้อง เลือกที่ Register User Defined Style



 

4.3 เลือก User Def.1-3 แล้วกดปุ่มเปิดแฟ้ม



 

4.4 เลือกไฟล์ Picture Style ที่ต้องการใช้ได้เลย นามสกุลของไฟล์จะต้องเป็น .pf2 นะ แล้วกด ok เล้ย


มาดูภาพตัวอย่างกันบ้างดีกว่า ทั้งนี้ภาพตัวอย่างทั้งหมดมีการใช้ค่าสมดุลแสงสีขาว (White Balance) ให้ใกล้เคียงกับแสงจริงมากที่สุดด้วย#A0;วิธีการวัดค่าสมดุลแสงสีขาวก็ง่ายมาก เพียงถ่ายภาพตรงบริเวณที่มีสีขาวที่เราต้องการ แล้วเลือก Custom White Balance#A0;หลังจากนั้นเลือกบริเวณแสงสีขาวที่ต้องการ เท่านี้ก็ได้ White Balance ตรงตามที่เราต้องการแล้ว




- - -
ไฟล์ต้นฉบับถ่ายจากกล้อง Canon EOS 6D ด้วยเลนส์ Canon EF 50mm. F/stop 1.4
Shutter Speed 1/100 , Aperture Value 1.4, ISO 400, Color Temperature 5600, White Balance B2, 0



















และด้วยเทคโนโลยี ที่ทาให้เราสามารถถ่ายภาพวิดีโอในระบบ Full HD ด้วยกล้อง DSLR ได้ ด้วยความสวยงามที่ได้จากเลนส์แบบภาพนิ่ง#A0;การใช้งานที่ง่ายขึ้น และการพกพาที่สะดวกขึ้นจึงทำให้กล้อง DSLR เป็นที่นิยมอย่างมากให้การทำ Video Production ยุคนี้เลยก็ว่าได้#A0;แต่จะถ่ายวิดีโอทั้งที ถ้าเรามีเทคนิคการถ่ายที่ดี ก็ย่อมจะทำให้วิดีโอของเราออกมาสวยงามโดดเด่นได้ไม่ยาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น#A0;ภาษาภาพที่จะเลือกใช้ ก็ต้องช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดภาพเหล่านั้นออกมา ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงานแต่ละชิ้นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการถ่ายให้อาหารดูน่าทาน ก็ควรเลี่ยงโทนสีที่ทำให้ไม่เจริญอาหาร เช่นสีเขียว สีฟ้า สีม่วง ลองนึกภาพตามดูว่า#A0;ระหว่างสตรอเบอร์รี่สีเขียวกับสีแดง ภาพไหนจะดูแล้วเจริญอาหารกว่ากัน ความสดของสีก็มีผลเหมือนกัน สมมุติว่าภาพสดมาก สีสันจัดจ้าน#A0;แดงเป็นแดง เขียวเป็นเขียว ก็อาจจะได้ความรู้สึกแบบป๊อบ แต่ถ้าลองใช้โทนสีจืดลงมาอีกหน่อย ลด contrast ลงอีกนิด ก็อาจจะได้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง ซึ่งภาพสไตล์ตุ่นๆ จืดๆ นี้ เป็นลักษณะเด่นของงานแบบญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้

นอกจากสีทั้ง 6 แบบที่ให้มาแล้ว ในแต่ละสีเรายังสามารถปรับได้เพิ่มเติมอีก ด้วยการปรับ Contrast (ความเปรียบต่าง) Saturation (ความอิ่มตัวของสี) และ Color Tone (โทนสี) วิธีปรับก็ไม่ยากเพียงกดปุ่ม Set จะพบสเกล ทีนี้เราก็ปรับระดับโดยการเพิ่มหรือลดค่าด้วยลูกศรซ้าย-ขวาจนได้ค่าที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Set แล้วจัดการถ่ายภาพได้ทันที ทีนี้ก็ได้ภาพที่ตรงใจได้มากที่สุดแล้ว



 

Color Tone Test




 

Saturation Test




 

Contrast Test




 

สำหรับความชอบส่วนตัวแล้ว นิยมถ่ายภาพอาหารให้ดูมีความอบอุ่น อย่างกาแฟถ้วยนี้ ที่ต้องการให้รู้สึกถึงความนุ่มของฟองนม จึงเลือกถ่ายบนโต๊ะไม้ที่ให้โทนสีในทางเดียวกัน เลือกใช้สีโทนอุ่น ลด Contrast สีของภาพให้น้อยลง ภาพที่ได้จึงออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ



 

เพิ่มเติมอีกนิดสำหรับมุมมองการถ่ายภาพอาหารให้ดูน่าทาน นอกจากจะเลือกปรับสีสันให้เหมาะแล้ว การจัดองค์ประกอบของฉากหลังก็สำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะถ่ายผลไม้สีแดง ก็ควรจะเลือกสีของพื้นหลังให้ไม่รบกวนสีแดง หรือไม่เป็นสีใกล้เคียงกัน ส่วนตัวแล้วชอบเลือกพื้นหลังที่มีความรกของสีน้อยที่สุด เพื่อขับให้ผลไม้ของเราเด่นที่สุด







คราวนี้เราจะไม่พูดถึงการแต่งภาพด้วยโปรแกรมหลังจากถ่าย ที่สามารถทำให้ภาพออกมาเลิศหรูอลังการยังไงก็ได้ แต่ก่อนจะกดชัตเตอร์แต่ละครั้ง อยากให้ลองใส่ใจกับรายละเอียดใน View Finder ให้มากขึ้น


ลองสมมติเล่นๆ ว่าโปรแกรมแต่งภาพเหล่านั้นไม่มีอยู่ในโลก แล้วกดชัตเตอร์ด้วยความละเมียดละไมดูบ้าง แล้วคุณอาจจะพบว่า โลกของการถ่ายภาพยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกเพียบเลยล่ะ :)