แสงจากด้านหน้า: ช่วยขับเน้นสีสันในภาพทิวทัศน์
แสงจากด้านหน้า: ช่วยขับเน้นสีสันในภาพทิวทัศน์

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/30 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด สถานที่: เส้นทางชมซากุระโอคิทะมะ จังหวัดยามากะตะ ประเทศญี่ปุ่น ภาพโดย Takashi Nishikawa
EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/30 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
สถานที่: เส้นทางชมซากุระโอคิทะมะ จังหวัดยามากะตะ ประเทศญี่ปุ่น
ภาพโดย Takashi Nishikawa

 

บทความนี้จะอธิบายความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทิศทางของแสง หากคุณรู้สึกไม่คุ้นเคยกับหลักพื้นฐานดังกล่าว ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการสร้างเอฟเฟคดังกล่าว แต่วิธีคลาสสิกที่สุดในการถ่ายภาพท้องฟ้าให้มีสีฟ้าสดใสคือ การถ่ายทอดสีสันเพื่อทำให้ฉากที่ออกมาราวกับถอดออกมาจากภาพวาด
ภาพนี้ถ่ายเมื่อเช้าวันหนึ่งในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ เป็นภาพของต้นซากุระที่อยู่ริมถนน Dai no Sakura ในเส้นทางชมซากุระโอคิทะมะ ในจังหวัดยามากะตะ ประเทศญี่ปุ่น ดอกซากุระนี้เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า “Beniyutaka” หรือ "สีแดงจัด" ซึ่งก็ตรงกับชื่อของมันจริง ๆ เพราะดอกซากุระเหล่านี้ขึ้นชื่อในเรื่องสีที่สวยเข้มเป็นอย่างมาก อีกทั้งยอดเขาที่อยู่ในส่วนแบ็คกราวด์ยังมีร่องรอยของหิมะหลงเหลืออยู่ จึงยิ่งทำให้ภาพนี้ดูสวยสดงดงามอย่างยิ่ง

การถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหน้าในสภาพอากาศที่สดใสเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการถ่ายทอดสีสันของวิวทิวทัศน์ให้ออกมาสวยงามและสมจริงมากที่สุด ช่างภาพ Takashi Nishikawa จึงต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์โดยใช้แสงด้านหน้าทันทีหลังจากที่ฝนหยุดตก หรือในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสปลอดโปร่ง

เคล็ดลับ: เพื่อปกปิดโทนสีที่ไม่สม่ำเสมอกันบนท้องฟ้า ให้วางตัวแบบของคุณให้เหมาะสม

EOS 5D Mark III/ EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200/ WB: Manual ภาพโดย Takashi Nishikawa
EOS 5D Mark III/ EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200/ WB: Manual
ภาพโดย Takashi Nishikawa

เมื่อคุณถ่ายภาพโดยให้แสงเข้าจากด้านหน้า โทนสีที่ไม่สม่ำเสมอกันบนท้องฟ้ามีแนวโน้มที่จะเห็นชัดขึ้นหากคุณใช้เลนส์มุมกว้าง แม้ว่าคุณจะไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม (PL) ก็ตาม แต่หากคุณวางตัวแบบของคุณให้พอดีกับบริเวณที่ท้องฟ้ามีสีเข้มมากที่สุดดังเช่นในภาพด้านบน ไม่เพียงท้องฟ้าจะดูสม่ำเสมอมากขึ้นเท่านั้น แต่จะทำให้ต้นซากุระมีโทนสีเข้มมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งนับเป็นวิธีการที่หลักแหลมที่ช่วยให้เรายิงปืนนัดเดียวได้นกถึงสองตัวเลยทีเดียว


แสงด้านหลัง: ดึงความสนใจของผู้ชมไปที่แสงสว่างเพื่อสร้างความประทับใจไม่รู้ลืม

 EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/250 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด ภาพโดย GOTO AKI

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/250 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ภาพโดย GOTO AKI
 

แสงด้านหน้าใช้เพื่อให้แสงส่องกระทบฉากทั้งฉาก ทำให้มองเห็นรายละเอียดของตัวแบบที่ถ่ายได้อย่างชัดเจน ในทางตรงกันข้าม แสงด้านหลังจะทำให้เกิดส่วนที่เป็นแสงและเงา โดยที่ไม่เห็นรายละเอียดของเงา ซึ่งความเปรียบต่างที่ได้มีแนวโน้มที่จะสร้างเอฟเฟ็กต์ที่สะเทือนอารมณ์ได้
ในสถานที่เช่นป่าไม้ แสงด้านหลังจะกระจายตัวไปตามต้นไม้และใบไม้ทั้งยังมีแสงประกายอยู่โดยรอบ ทำให้ตัวแบบเหล่านั้นแปรเปลี่ยนจากวัตถุธรรมดา ๆ เป็นตัวแบบที่กระตุ้นความสนใจและสร้างความประทับใจได้ ส่วนตัวแบบที่มีรูปทรงน่าสนใจก็สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นภาพซิลูเอตต์ได้ด้วยการถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหลัง และการชดเชยแสงเป็นลบ ดังนั้น เมื่อคุณถ่ายภาพในสภาวะย้อนแสง จึงควรระมัดระวังในเรื่องแสงและเงา ขณะจัดองค์ประกอบภาพและกำหนดการตั้งค่าการเปิดรับแสงของคุณ

เคล็ดลับ: เพื่อเน้นให้แสงสว่างดูน่าสนใจ ให้ปรับลักษณะของภาพในส่วนที่เป็นเงาให้เหมาะสมด้วยการชดเชยแสง

EV-0.3 EOS 5DS R/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 255 มม./ Shutter-priority AE (f/18, 1/800 วินาที, EV-0.3)/ ISO 200/ WB: Manual ภาพโดย GOTO AKI

EV-0.3
EOS 5DS R/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 255 มม./ Shutter-priority AE (f/18, 1/800 วินาที, EV-0.3)/ ISO 200/ WB: Manual
ภาพโดย GOTO AKI

 

EV-1.3 EOS 5D Mark IV/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/60 วินาที, EV-1.3)/ ISO 400/ WB: Manual ภาพโดย GOTO AKI
EV-1.3
EOS 5D Mark IV/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/60 วินาที, EV-1.3)/ ISO 400/ WB: Manual
ภาพโดย GOTO AKI

เงาจะช่วยดึงความสนใจของผู้ชมไปที่แสงสว่าง ดังนั้น การจะควบคุมลักษณะของภาพเงาที่เกิดขึ้นได้นั้นต้องใช้การชดเชยแสงเข้าช่วย หากคุณต้องการสร้างภาพซิลูเอตต์ ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นลบจนถึงค่าประมาณ EV-2.0 จนกระทั่งส่วนหนึ่งของภาพเป็นสีดำเพียงพอที่จะเน้นให้แสงสว่างดูน่าสนใจ

https://snapshot.canon-asia.com/article/th/super-telephoto-lens-techniques-wildlife-silhouettes-against-the-sun