การถ่ายแนวนี้สามารถทำได้โดยการใช้สปีดชัตเตอร์เร็ว ๆ แต่บางครั้งความเร็วของสปีดชัตเตอร์สูงสุดอาจไม่เพียงพอ ซึ่งในบทความนี้มีทริคง่าย ๆ ที่จะทำให้ไม่ต้องใช้สปีดชัตเตอร์เร็วได้ ก่อนอื่นขอเล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของมันก่อน   ในตอนต้นของยุค 1930 Harold ‘Doc’ Edgerton ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่ MIT ได้อุทิศตนในการประดิษฐ์แฟลชและกล้องถ่ายรูปที่สามารถจับภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ได้ ในอีกหลายทศวรรษต่อมา เขาได้ถ่ายภาพนักกีฬา,หยดของเหลวนานาชนิดและแม้กระทั่งลูกกระสุน ซึ่งวัตถุทั้งหมดนั้นได้ลอยอยู่ในอากาศ ภาพถ่ายของเขาได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในในเสี้ยววินาที และสร้างแรงบันดาลใจให้โลกต้องตกตะลึงไปกับเหตุการณ์และวัตถุทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่สปริงเกอร์รดน้ำในสนามหญ้าที่หมุนติ้วไปจนถึงลูกโป่งที่ถูกเจาะให้แตก “ตาของพวกเราไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการจับภาพเคลื่อนที่เร็ว” เขาได้กล่าวเอาไว้ว่า “คุณจำเป็นจะต้องใช้แฟลช”

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด แต่มนุษย์ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความเร็วสูงเหล่านี้ซึ่งเราไม่สามารถเห็นได้ในชีวิตจริง วันนี้ไปรู้จักกับเบื้องหลังในการถ่ายภาพความเร็วสูงกัน ภาพความเร็วสูง คือช่วงเวลาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเสี้ยววินาทีนี้ ลูกโป่งน้ำที่แตก และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกัน

จะเลือกกล้องหรือเลนส์แบบไหนดี กล้อง Mirrorless หรือกล้องที่มีโหมด manual สามารถใช้ถ่ายภาพ High - speed ได้ ส่วนทางยาวโฟกัสของเลนส์ควรเลือกใช้ช่วงเทเลโฟโต้เพื่อให้มีระยะห่างมากพอระหว่างกล้องกับตัวแบบ อุปกรณ์ก็จะปลอดภัยจากการกระเซ็นของน้ำได้  Macro 100 mm กับเลนส์ 24-70 mm ในการถ่ายลูกโป่ง พบว่าเลนส์ Macro 100mm เป็นเลนส์ที่ ให้อัตราส่วนภาพ 1:1 ทำให้ภาพคม และตัวแบบเต็มเฟรมภาพ ที่สำคัญสามารถยืนอยู่ห่างจากตัวแบบได้ในระยะปลอดภัย 

อุปกรณ์อื่นในการถ่ายภาพแนวนี้ ควรมีแฟลชอย่างน้อย 1ตัวขึ้นไป และขาตั้งกล้อง ต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมท เพราะต้องถ่ายภาพต่อเนื่องทีละหลาย  ภาพโดยไม่ขยับกล้อง

การตั้งค่ากล้องภาพด้านบน ลูกโป่งน้ำใช้สปีดชัตเตอร์แค่ 1/10 วินาที ซึ่งต่างจากที่เขียนไว้ด้านบนว่าต้องตั้งค่า
สปีดชัตเตอร์ถึง 1/20,000 วินาที เพื่อให้วัตถุที่มีการเคลื่อนที่นิ่งสนิท แต่มีทริคง่าย ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องใช้
สปีดชัตเตอร์มาก ๆโดยในห้องหรือบริเวณที่ถ่ายต้องมืด ตั้งค่ารูรับแสงแคบ หมุนไปที่โหมด Bulb เมื่อเปิดชัตเตอร์ก็เริ่มยิงแฟลช และใช้สปีดชัตเตอร์แค่ 1/ 10 วินาที หรือ 1/ 250 วินาที เมื่อเรายิงแฟลช ในอัตราส่วน1/125 แสงของแฟลชจะมีความเร็วเท่ากับ Speed Shutter 1/16000 ต่อวินาทีเลยทีเดียว

นี่คือการตั้งค่ากล้องที่ใช้ โหมด Bulb f11 - f16 ISO 100 - 400 Manual focus ใช้กำลังแฟลช Manual 1/128

 ทำไมต้องใช้กำลังแฟลชน้อย  เพราะระยะทางที่แสงส่องถึงวัตถุจะสั้นลง และจะสว่างแค่ตัวแบบ โดยไม่ทำให้วัตถุอย่างอื่นในห้องสว่างไปด้วย การถ่ายลูกโป่งน้ำนั้น ควรต้องทำด้วยมือข้างเดียว และยิงแฟลชโดยการใช้รีโมทที่มืออีกข้าง โดยต้องกะเวลาให้พอดีกัน ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนหลายครั้ง เพื่อให้กะจังหวะแม่นยำ ถ้ากะเวลาไม่แม่นยำจะได้ภาพอย่างข้างบนเป็นจังหวะที่กดแฟลชช้าไป อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ง่ายขึ้น คือใช้ตัวสั่งแฟลชด้วยเสียงจะทำให้ถ่ายได้ง่ายขึ้นมาก เมื่อเซ็นเซอร์เสียงได้ยินเสียงลูกโป่งแตกจะสั่งงานแฟลชให้ยิงทันที

การตั้งค่าโฟกัสแบบ Manual คือสิ่งจำเป็น เมื่อกล้องไม่สามารถโฟกัสในความมืดได้ ซึ่งอาจทำให้พลาดโมเม้นต์สำคัญ

ผังไฟโดยประมาณ ลองทำกันดูนะครับ สนุกแน่ๆ อย่าลืมว่าความชำนาญคือการทำซ้ำ ขอบคุณครับ