โดยทั่วไปแล้วพื้นฐานการถ่ายภาพเรามักจะตั้งค่าแบ่งเป็น 2 แบบคือตั้งค่าเพื่อให้ภาพสมบูรณ์ที่สุดนำไปใช้ได้เลย เพื่อแชร์ให้กับสมาร์ทโฟนแล้วนำไปโพสสื่อโซเชียลทันที กับอีกแบบหนึ่งก็คือการถ่ายแล้วนำภาพไปปรับทีหลังโดยโปรแกรมแต่งภาพต่างๆ โดยทั้งสองวิธีนั้นมีอยู่ตัวแปรค่าหนึ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือ White Balance ซึ่งเมื่อปรับค่านี้แล้วจะทำให้โทนสีของภาพดูเย็นลงหรือร้อนขึ้น หากนึกไม่ออกก็คือปรับแล้วภาพออกมาโทนสีฟ้ากับปรับแล้วภาพออกมาโทนสีส้มนั่นเองครับ

การปรับ WB นี้ส่วนมาก กล้องจะมีให้เลือกหลายแบบครับ Auto,Daylight,Shade,Cloudy,Tungsten light,White fluorescent light,Flash,Custom และบางรุ่นเรายังตั้งอุณหภูมิสีเองได้เองอีกด้วยเป็น Color temp หน่วยเป็น K (เคลวิน) ยิ่งตัวเลขน้อยๆ ภาพจะยิ่งโทนเย็นและยิ่งตัวเลยเยอะๆ ภาพจะยิ่งดูอบอุ่นไปจนร้อนติดโทนส้มเลยครับ ปกติจะมีให้เลือกระหว่าง 2,500 - 10,000 K สำหรับกล้องรุ่นใหม่ก็จะมี Auto ให้เลือกอีกระหว่าง AWB และ AWBW โดย AWBW จะเน้นให้สีขาวมีความขาวสมจริงมากกว่าแบบแรกที่ยังมีสีจากสิ่งแวดล้อมมาประกอบอยู่บ้าง

หากการถ่ายภาพมาแต่ละครั้งเราตั้งค่าการถ่ายภาพเป็นแบบ Jpeg แล้วล่ะก็ WB จะสำคัญไม่แพ้การตั้งค่าแบบอื่นๆ เลยครับเพราะการปรับแก้โทนภาพจะทำได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย ลองนึกภาพที่ถ่ายมาแล้วติดโทนส้มจากหลอดไฟที่ประดับตกแต่งดูครับแก้ไม่ง่ายเลยใช่ไหมครับ แต่ถ้าเรารู้ก่อนเราสามารถปรับตั้งได้จากกล้องตั้งแต่ก่อนถ่าย เทคนิคง่ายๆ สำหรับมือใหม่คือลองตั้งค่าเป็น Auto ดูก่อน หากไม่ถูกใจลองปรับเป็นค่าอื่นๆ โดยเราจะสามารถเห็นความเปลี่ยนเแปลงจากกการถ่ายภาพแบบใช้จอ LCD หรือที่เราเรียกว่า Live view ได้ก่อนถ่ายเลยครับ

ภาพด้านบนเลือกใช้การตั้งค่า WB แบบ Daylight  ดังนั้นสภาพแสงแต่ละแบบก็เหมาะกับการตั้งค่าที่ต่างๆกันครับ แน่นอนเพื่อความง่ายลองตั้งแบบ Auto ก่อน แต่ถ้าไม่ถูกใจ ก็ลองปรับให้ถูกกับแหล่งกำเนิดแสงดูครับหรืออยากให้ดูแปลกตาก็ลองปรับแบบอื่นๆดูครับ 

Auto : กล้องปรับให้มีให้เลือกสองแบบ AWB กับ AWBW

Daylight : ถ่ายภาพกลางแจ้งมีแสงแดด

Shade : ถ่ายภาพภายนอกในสภาพมีร่มเงา

Cloudy : ถ่ายภาพกลางแจ้งในสภาพมีเมฆ

Tungsten light : ถ่ายภาพในร่มภายใต้แสงจากหลอดไส้(แสงไฟสีส้ม)

White fluorescent light : ถ่ายภาพในร่มภายใต้แสงจากหลอดนีออน(แสงไฟสีขาว/ฟ้า)

Flash : ถ่ายภาพโดยใช้แฟลช

Custom : ตั้งค่าสีเอง

 

ภาพด้านบนเลือกใช้การตั้งค่า WB แบบ AWBW ให้กล้องจัดการให้อัตโนมัติโดยเน้นบริเวณที่เป็นสีขาวให้ใกล้เคียงสีขาวที่สุดไม่สนใจสีรบกวนอื่นๆ

ทางเลือกในการตั้งค่า WB สำเร็จรูปแบบต่างๆ ที่กล้องมีให้ แต่จะให้แปลกตากว่านี้อาจจะต้องปรับค่าเองเป็นแบบ Custom อุณหภูมิสีซึ่งปรับโทนได้ละเอียดกว่า หรือหากถ่ายเป็น RAW ไฟล์ก็ไปทำทีหลังในโปรแกรมต่างๆได้เลย

ภาพส่วนมากที่เจอแล้วปวดหัวก็คือโทนสีที่อมส้มแบบนี้เกิดการการปรับตั้งค่า WB ที่ผิดพลาดหรือไม่ได้ปรับตั้งเป็นค่าที่ถูกต้องบางครั้งถ้ากล้อง Dslr อาจจะต้องเช็คการตั้งค่าหรือเปิดเช็คโดยมองจากจอ Live view ก่อนถ่ายทุกครั้งครับซึ่งกล้อง Mirrorless จะได้เปรียบจุดนี้มากๆ ครับเพราะเห็นการตั้งค่าทันทีตั้งแต่ก่อนถ่าย

หลอดไส้หรือ Tungsten light เป็นหลอดที่พบเจอในการประดับตกแต่งตามห้างร้านหรือแม้แต่ห้องต่างๆ เป็นจำนวนมากหากไม่ระวังอาจจะได้ภาพที่อมส้มไปทั้งภาพ ภาพด้านบนคือภาพที่ปรับเป็น WB ที่ถูกต้อง

บางครั้งแหล่งกำเนิดแสงมีมากกว่าอุณหภูมิสีเดียวคือมีแสงสีกวนมากๆ การปรับตั้งอาจจะยากต่อการตัดสินใจก็มีการปรับให้ให้การผสมอุณหภูมิสีได้ที่เมนูนี้เลยครับ จะเป็นม่วงอมเขียว ขียวอมฟ้า ก็ได้ครับ โดยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันไม่สามารถตรงข้ามกันได้ นอกจากจะถ่ายคร่อม WB แล้วไปปรับเองในโปรแกรมภาพหลังครับ ทำได้โดยการปรับที่หัวข้อ Bracket จะคร่อมแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ครับได้ถึงปรับให้ห่างกันได้ 3 ค่า

ค่าตัวแปรต่างๆ อธิบายได้ประมาณนี้
A สีภาพออกเหลืองอำพัน เน้นไปทางสีแดง
B สีภาพออกฟ้า เน้นไปทางสีฟ้า
G สีภาพออกเขียว เน้นไปทางเขียว
M สีภาพออกม่วงแดงเข้ม เน้นไปทางสีม่วง

สุดท้ายเป็นการยกตัวอย่างในการปรับโดยโปรแกรมยอดฮิต หากเราถ่ายโดยไฟล์ RAW ก็ปรับได้ที่หัวข้อตามภาพด้านบนเลยครับ นอกจากจะมีให้เลือกค่าสำเร็จรูปต่างๆ แล้วยังปรับละเอียด A B G M ได้ด้วย

หากต้องการความแปลกตาในการถ่ายภาพให้ภาพออกมาโทนสีอุณหภูมิต่างๆ อย่าลืมปรับที่หัวข้อนี้ก่อน(หากถ่าย JPEG) หรือหลังถ่าย(หากถ่าย RAW) ก็ได้นะครับ

ขอบคุณครับ
#GingerCNX