การถ่ายภาพมาโคร เป็นการถ่ายภาพเพียงไม่กี่แบบ ที่ใช้หลักการพื้นฐานการถ่ายภาพที่แตกต่างออกไปจากการถ่ายภาพปกติ เลนส์ต้องออกแบบมาพิเศษ ความเข้าใจเรื่องระยะชัดแตกต่างออกไป และยังมีอัตราการเสียแสงอีก แต่มันไม่ได้ยากและไม่น่าเบื่อขนาดนั้น คุณอาจหลงรักการถ่ายภาพแนวนี้ซะด้วยซ้ำ เหมือนกับนักถ่ายภาพอีกหลายท่าน ที่ติดใจกับเสน่ห์ของโลกการถ่ายภาพมาโคร ข้อดีคือสามารถถ่ายได้ในทุกสภาพอากาศ ทุกฤดู

การถ่ายภาพมาโคร หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก ๆ ด้วยเลนส์ หรืออุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีกำลังขยายมากกว่าหรือเท่ากับ 1:1 เป็นการแบ่งแยกด้วยกำลังในการถ่ายภาพ กำลังขยาย 1:1 หมายความว่า ขนาดภาพบนเซ็นเซอร์รับภาพหรือฟิล์ม มีขนาดเท่ากับขนาดวัตถุจริง หากถ่ายภาพด้วยกำลังขยายต่ำกว่านี้เรียกว่า การถ่ายภาพ โคลสอัพ แต่เราก็มักจะเรียกรวม ๆ กันว่า การถ่ายภาพมาโคร

 

 

โดยปกติในการถ่ายภาพทั่วไปแล้ว เชื่อว่าเพื่อนๆ คงเลือกรุปแบบการ Focus เป็น Auto อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น ฯOne Shot AF , AI Servo AF  หรือ MF เป็นต้น เนื่องจากเป็นค่า Default เดิม ที่ถูกตั้งค่ามาจากโรงงานแล้วนั่นเอง แต่กับการถ่าย Macro นั้น การจะใช้ One Shot AF , AI Servo AF  อาจจะไม่สะดวกเท่าไรนัก เพราะ Subject ที่เราถ่ายนั้น มีขนาดที่เล็กกว่าปกติ ทำให้บางครั้งตัวกล้องไม่สามารถหาจุด Focus ได้นั่นเองครับ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเปลี่ยนมาใช้ Manual Focus  ซึ่ง Manual Focus จะช่วยเราได้เป็นอย่างดีกับการ Focus Subject ที่ต้องการความละเอียดรอบคอบสูงอย่างการถ่าย Macro ฉะนั้นเพื่อนๆที่คิดว่าจะจริงจังกับการถ่าย Macro ด้วยแล้วนั้น ต้องหมั่นฝึกใช้ Manual Focus ไว้ด้วยนะครับ

 

นอกเหนือจากการใช้ Manual Focus ให้คล่องแล้ว เราต้องเข้าใจในการใช้ Mode สำหรับการถ่าย Macro ด้วย ซึ่งเราจะให้ความสำคัญกับ Mode M หรือ Mode Av กันโดย Mode Av เดิม เชื่อว่าเพื่อนๆคงใช้สำหรับการถ่าย Portrait กันเป็นหลัก เพราะ สามารถปรับค่า F ได้ตามใจหวัง โดยค่าอื่นๆอย่าง Speed Shutter ตัวกล้องจะเป็นผู้คำนวณให้เราเสร็จสรรพครับ หรือ จะเป็น Mode M ก็ตรงตามชื่อเลยครับ M นั้นย่อมาจาก Manual เท่ากับว่า ตัวกล้องจะปล่อยอิสระให้กับเราในการ Setting ค่าต่างๆ ไม่ว่า Aperture , Speed Shutter , ISO เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราคาดหวังไว้ ทั้งนี้ Mode M แม้ว่าอาจจะเหมาะกับการถ่าย Macro แต่เพื่อนๆก็ต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของค่าทั้ง 3 อย่าง Aperture , Speed Shutter , ISO ด้วยนะครับ เพราะ ทั้ง 3 ค่านี้ ถือว่าเป็นหํวใจสำคัญของผลลัพธ์ที่จะได้ใน Mode M ครับ

เลนส์มาโครนั้นสามารถช่วยให้เพื่อนๆถ่ายภาพตัวแบบที่มีขนาดเล็ก เช่น มดและหยดน้ำได้ในระยะใกล้อย่างน่าอัศจรรย์ แน่นอนว่าเพื่อนๆต้องการความคมชัดสูง กำลังขยายสูง เลนส์มาโครคืออุปกรณ์ที่จะขาดไปไม่ได้  การถ่ายภาพมาโครนั้นมีผลของระยะชัดที่แตกต่างไปจากการถ่ายภาพทั่วไป ด้วยเลนส์ตัวเดียวกันซึ่งอาจจะเป็นมาโครหรือไม่ก็ได้ หากเพื่อนๆ ทดลองถ่ายภาพในระยะห่างปกติโดยใช้ขนาดรูรับแสง f/11-16 ระยะชัดของภาพอาจครอบคลุมได้ไกลจนถึงระยะอนันต์ แต่เมื่อคุณนำเลนส์ตัวเดียวกันนี้มาถ่ายภาพในระยะใกล้ ถ่ายภาพมาโครที่กำลังขยาย 1:1 ระยะชัดของภาพเมื่อใช้ขนาดรูรับแสง f/11-16 ระยะชัดของภาพอาจครอบคลุมเพียงระยะ 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น

          เพราะฉะนั้น การควบคุมระยะชัดของการถ่ายภาพมาโครจึงมีความสำคัญมาก การเลือกใช้ขนาดรูรับแสงให้เหมาะสม ครอบคลุมระยะชัดที่ต้องการ และต้องไม่ลืมว่าขนาดของรูรับแสง นอกจากจะมีผลต่อระยะชัดของซับเจกต์แล้วยังมีผลต่อการควบคุมฉากหลังด้วย โดยปกตินักถ่ายภาพส่วนใหญ่มักเลือกใช้ขนาดรูรับแสงแคบ  f/8 ขึ้นไป เพื่อให้ได้ระยะชัดลึก แต่หากเลือกใช้ค่าขนาดรุรับแสงที่ f/4-8 กับการถ่ายภาพในสภาพแสงธรรมชาติก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีไม่น้อย

สำหรับการใช้งานกับกล้องแบบ APS-C  ซึ่งมีระยะชัดที่สูงกว่ากล้องแบบฟูลเฟรม ถ้าหากใช้แฟลชในการถ่ายจะแตกต่างไปจากนี้ ต้องปรับให้รูรับแสงแคบลงกว่านี้ เพราะถ้าโฟกัสไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ถูกต้องเข้าโฟกัสแล้ว ภาพจะคมชัดและมีระยะตามขนาดรูรับแสงที่เลือกใช้ ส่วนการโฟกัสผิดตำแหน่ง แม้จะเพียงเล็กน้อย แล้วคิดจะใช้รูรับแสงแคบคุมระยะชัดให้ได้ภาพที่คมชัดนั้น อย่างไรก็ตาม ภาพก็ยังจะดูไม่คมชัดอยู่ดี ทั้งนี้ การโฟกัสให้เข้าตำแหน่งที่ต้องการสำคัญมาก ระยะชัดนี้เป็นช่วงค่าขนาดรูรับแสง ที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับกำลังขยาย ขนาดของซับเจกต์และระยะห่างของฉากหลังกับซับเจกต์ หากไม่แน่ใจ ก็ต้องกดปุ่มชัดลึกเพื่อดูผลของระยะชัดที่แท้จริงก่อนกดชัดเตอร์เพื่อถ่ายภาพ

การควบคุมฉากหลัง ในการถ่ายภาพมาโครที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงบรรยากาศสิ่งแวดล้อม ก็ต้องเลือกเก็บรายละเอียดของฉากหลังมาด้วย เลนส์ไวด์ที่มีระยะโฟกัสใกล้สุดนั้น จะมีกำลังขยายสูง ถ่ายภาพได้กำลังขยาย 1:3-4 ก็เหมาะกับการถ่ายภาพแบบโคลสอัพเพื่อเก็บฉากหลัง เทคนิคในการถ่ายภาพมาโครให้ฉากหลังเข้มดำนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่ที่จะแนะนำคือการเลือกฉากหลังที่มีค่าแสงแตกต่างจากซับเจกต์มาก ๆ ปรับมุมถ่ายภาพดูสักครู่ ก็จะเห็นว่ามีฉากหลังบางส่วนที่ไม่ได้รับแสง ความเปรียบต่างแสงที่สูงเกินกว่ากันราว 2 สตอป เมื่อถ่ายภาพด้วยค่าแสงที่ตกลงบนซับเจกต์ ก็จะทำให้ฉากหลังเข้มดำได้เอง

นอกจากนี้ การถ่ายภาพในทิศทางแบบย้อนแสง แสงเฉียงหลังหรือข้าง ก็จะได้ภาพฉากหลังเข้ม ๆ ถ้าหากสภาพแสงไม่เอื้ออำนวย แล้วอยากได้ฉากหลังที่เข้มดำ การใช้ฉากหลังสีดำอย่างกระดาษดำด้าน ผ้ากำมะหยี่แล้วนำไปวางไว้ให้ห่างจากซับเจกต์สักหน่อย ก็เป็นวิธีที่ใช้กันมาแต่ไหนแต่ไร อีกวิธีหนึ่งของการควบคุมฉากหลังให้เข้มดำคือ การใช้แสงแฟลชเป็นแสงหลักในการถ่ายภาพ ซับเจกต์ได้รับแสงแฟลช ส่วนฉากหลังที่ห่างออกไปก็จะเข้มดำลงไปเอง 

เป็นอย่าไรกันบ้างครับ กับบทความนี้เริ่มเรียกน้ำย่อยก่อนลงสนามถายมาโครกันบ้างมั้ย ลองเลือกอุปกรณ์สำหรับการถ่ายมาโครของเพื่อนๆ ให้เหมาะสมกับอุกรณ์ที่มีอยู่หลังจากที่เพื่อนๆรู้ความต้องการของตัวเองแล้ว หวังว่าเพื่อนๆจะสนุกกับการถ่ายมาโครกันนะครับ ขอบคุณครับ