โดย ADMIN-Lifester จำนวนผู้ชม: 4074

22 Apr 20

RFVOLUTION x WARANUN PHOTOGRAPHY

 

 

จะมีซักกี่ครั้งที่เราจะได้มีโอกาสนั่งลงพูดคุยกับศิลปินแห่งชาติ (สาขาทัศนศิลป์-ถ่ายภาพ) ที่ถูกจัดอันดับโดยสมาคมช่างภาพของประเทศอเมริกาให้เป็นช่างภาพอันดับ 1 ของโลกถึง 17 ปีอย่าง “อาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร” และคนที่ประสบความสำเร็จระดับโลกมาแล้วมากมายอย่างอาจารย์ ก็ให้ข้อคิดกับเราว่าคนที่ประสบความสำเร็จ อาจไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด แต่เป็นคนที่รู้ว่าอะไรเหมาะสมกับตัวเองที่สุด ความเชี่ยวชาญที่สั่งสมจากประสบการณ์กว่า 30 ปีทำให้อาจารย์วรนันท์เลือกเฉพาะสิ่งที่ใช่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การทำงานที่สมบูรณ์แบบที่สุด

 

 

เลนส์ RF70-200 f2.8L IS USM ตัวนี้อาจารย์บอกกับเราว่ารู้สึกประทับใจตั้งแต่ได้สัมผัสครั้งแรก ด้วยน้ำหนักที่เบาดีไซน์ของกระบอกเลนส์ที่สั้นลง หยิบจับถนัดมือ พกพาไปไหนก็สะดวก แถมยังเหมาะกับการถ่ายภาพที่ต้องเคลื่อนไหวตามวัตถุหรือตัวแบบอย่างการถ่ายนกหรือสัตว์ป่าแบบที่อาจารย์หลงใหล เพราะมีระบบป้องกันการสั่นไหวในตัวเลนส์ถึง 5 สตอปช่วยเพิ่มความมั่นใจในการถือถ่าย (Handheld) และไว้ใจได้ว่าภาพที่ได้จากการทำงานร่วมกันระหว่างกล้องและเลนส์ RF70-200 สามารถจับโฟกัสได้เร็ว และเข้าเป้าแน่นอน
ในเรื่องของรายละเอียดภาพก็ให้ดีเทลที่คมชัดตั้งแต่กลางภาพจนถึงขอบภาพ ตั้งแต่ส่วนที่มืดไปจนถึงสว่าง เก็บเนื้อภาพได้อย่างครบถ้วนในทุกสภาพแสง เรียกได้ว่าซูมส่วนไหนของภาพออกมาก็ชัดหมดทุกส่วนจริงๆ อย่างภาพไก่ป่าภาพนี้ ถึงจะถ่ายในสภาพแสงน้อย (Low Light) ก็ยังเก็บดีเทลได้คมชัดตั้งแต่บริเวณหงอนไปจนถึงปลายหาง นอกจากเรื่องดีเทลภาพแล้ว สีที่ได้ก็ยังมีความเที่ยงตรงสมจริง แถมการไล่สีก็ทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ 

 

 

 

หรือภาพแมวป่าภาพนี้ที่ถ่ายผ่านกรงกระจกในสภาพแสงค่อนข้างมืด อาจารย์เลือกใช้เทคนิคง่ายๆ คือการเอาเลนส์แนบติดกับกระจกเพื่อไม่ให้เงาสะท้อนกระจกเข้าหน้าเลนส์ โดยเปิดค่ารูรับแสงที่ f3.5 เพื่อต้องการเก็บรายละเอียดของแมวป่าลายเมฆ และเบลอฉากหลังเพื่อขับให้ตัวแมวป่าเด่นขึ้นจากพื้นหลังที่มีสีใกล้เคียงกัน ปรับ Speed Shutter 1/400 แล้วดึงซูมไปที่ระยะ 104 มม. จะสังเกตเห็นรายละเอียดตัวแมวป่าได้อย่างครบถ้วน

 

 

 

ด้วยความที่เป็นเลนส์เทเลโฟโต้ที่มีช่วงซูมค่อนข้างกว้าง ทำให้อาจารย์วรนันทน์สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานเลนส์ RF70-200 f2.8L IS USM ตัวนี้ได้อย่างหลากหลาย นอกจากภาพ Wildlife แล้วก็ยังสามารถถ่ายภาพแอคชั่น คน หรือสถาปัตยกรรมที่มีรายละเอียดเยอะๆ อย่างภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์และอนันตนาคราชภาพนี้ อาจารย์เลือกใช้เทคนิค Double Exposure หรือการถ่ายภาพซ้อนให้เห็นเรือพระที่นั่งทั้งสองลำจากคนละฟากของสนามหลวง โดยตั้งค่ารูรับแสงที่ f11 เพื่อให้เห็นดีเทลบนตัวเรือ เรียกได้ว่าเป็นเลนส์ซูมที่คุณภาพไว้ใจได้แถมใช้งานได้อเนกประสงค์สามารถพกติดกระเป๋าไปใช้ได้ทุกที่อีกด้วย

 

 

ไม่แปลกใจเลยที่อาจารย์วรนันทน์ถึงกับเอ่ยปากกับเราว่าได้เลนส์ RF70-200 f2.8L IS USM ตัวนี้มาใช้กับกล้อง Canon EOS R ทำให้รู้สึกคล่องตัวมากเวลาใช้งาน ทำให้ถ่ายสนุกได้มากขึ้น เหมือนได้เจอสิ่งที่ใช่ที่เข้ามาตอบโจทย์การทำงานของตัวเองได้อย่างลงตัวอีกครั้ง