Canon EOS 6D, เลนส์ EF35 มม. f/1.4L USM, f/5.6, ISO 100 โดย Andreas Samuelsson
Canon EOS 6D, เลนส์ EF35 มม. f/1.4L USM, f/5.6, ISO 100 โดย Andreas Samuelsson
 

หลายคนคงได้ยินคำว่า HDR แต่รู้หรือไม่ว่า มันหมายถึงอะไร มันคืออะไรกันแน่ HDR มาจากคำว่า High Dynamic Range ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างภาพถ่ายสวย ๆ ที่มีรายละเอียดและความคมชัดสูง คำว่า Dynamic Range หมายถึงค่าความแตกต่างระหว่างสีขาวที่สว่างที่สุดกับสีดำที่มืดที่สุดที่คุณสามารถนำมารวมไว้ในภาพถ่ายแต่ละภาพได้
แล้วมันมีการทำงานอย่างไร ?


ในการถ่ายภาพ HDR จะต้องถ่ายภาพเดียวกันจำนวนสามภาพขึ้นไป โดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพคร่อม (bracketed photos) ซึ่่งหมายความว่าภาพแต่ละภาพจะถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์หรือความกว้างของรูรับแสงไม่เท่ากัน ยิ่งภาพมีคอนทราสต์ (Contrast) หรือคู่ตรงข้าม, ความเปรียบต่าง คือ สิ่งที่จะช่วยให้ภาพถ่ายดูดีขึ้นได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว นักถ่ายภาพมักจะเข้าใจว่าถ้าเป็นเรื่องของ Contrast ก็ต้องเป็นเรื่องของ “แสงและเงา” 


เมื่อมีมากเท่าไหร่ คุณก็จะต้องถ่ายภาพมากขึ้นเท่านั้น และสิ่งที่คุณจะได้ก็คือภาพถ่ายที่มีค่าความมืดและความสว่างต่างกัน ขึ้นอยู่กับแสงที่ลอดผ่านเลนส์ จากนั้นจะมีการใช้ซอฟต์แวร์นำภาพเหล่านั้นมารวมกันเพื่อสร้างภาพสุดท้ายที่มีลักษณะเหมือนภาพที่มนุษย์มองเห็นผ่านดวงตา


สิ่งที่ต้องใช้ในการถ่ายภาพ HDR 
กล้องที่มีฟังก์ชัน Auto Exposure Bracketing (AEB) หากจะถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้ จะต้องปรับการตั้งค่าของกล้องด้วยตัวเอง ระหว่างถ่ายภาพ ซึ่งนั่นหมายความว่า จะต้องขยับกล้องหลายครั้ง ซึ่งไม่เพียงเสียเวลา แต่วัตถุที่จะถ่ายนั้น อาจจะไม่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันอย่างที่ควรจะเป็น
ดังนั้น ถ้าเราใช้ฟังก์ชัน AEB อย่าลืมขาตั้งกล้อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ภาพถ่ายของคุณอยู่ในแนวเดียวกันในขั้นตอนการตกแต่ง เพราะเทคนิค HDR ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพขณะกล้องขยับ ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์ HDR จะสามารถจัดภาพให้อยู่ในแนวเดียวกันได้ แต่ควรฝึกถ่ายภาพให้นิ่งก่อนเสมอ


แล้วเราควรเลือกซอฟต์แวร์ HDR ตัวไหนล่ะ? ซอฟต์แวร์ HDR มีให้เลือกมากมาย รวมถึงซอฟต์แวร์ยอดนิยมอย่างเช่น Photomatix Pro, Luminance HDR และ Photoshop ข้อควรจำก็คือซอฟต์แวร์ HDR มีตัวปรับจำนวนมาก ทำให้คุณสามารถปรับเอฟเฟ็กต์ Tone-Mapping ได้ตามที่ต้องการ


ต้องใช้เมื่อไหร่
เมื่อถ่ายภาพฉากและวัตถุที่บริเวณสว่างกับบริเวณที่มืด และมีความแตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น ภาพภูมิทัศน์ที่ท้องฟ้ากับผืนดินมีคอนทราสต์สูง ในตัวอย่างนี้ HDR จะช่วยให้คุณเก็บภาพรายละเอียดของท้องฟ้าได้ โดยไม่ทำให้ความสวยงามของส่วนผืนดินด้อยลงไปเลย

Canon EOS 6D, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L II USM, f/2.8, 1/125, ISO 800 โดย Ken Thomann
Canon EOS 6D, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L II USM, f/2.8, 1/125, ISO 800 โดย Ken Thomann


ถ้ามีภาพคนในวันที่มีแดดจัดอาจจะถ่ายออกมายาก เพราะหากมีแสงบนใบหน้าของคนมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดเงามืดและแสงจ้าได้ ซึ่ง HDR สามารถแก้ไขปัญหานี้และทำให้คนในภาพดูดีขึ้น และหากแสงจากด้านหลังจ้าเกินไปก็สามารถใช้ HDR เพิ่มความสว่างให้กับฉากหน้าได้โดยไม่ทำให้ส่วนที่สว่างในภาพหายไป

Canon EOS 5D Mark II, เลนส์ EF17-40 มม. f/4L USM, f/4.0, 1/250, ISO 640 โดย Patrick Criollo
Canon EOS 5D Mark II, เลนส์ EF17-40 มม. f/4L USM, f/4.0, 1/250, ISO 640 โดย Patrick Criollo

เคล็ดลับในการเริ่มใช้งาน

ถ่ายภาพ RAW ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับแต่งภาพและทำให้ระยะคอนทราสต์ของภาพกว้างขึ้น เพราะภาพ JPEG ถูกบีบอัดอย่างมากเพื่อลดขนาดภาพ ทำให้สูญเสียรายละเอียดบางอย่างไป อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับนี้เป็นเพียงแนวทางในการเริ่มต้นถ่ายภาพเท่านั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ ศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพแบบ HDR เพื่อสนุกกับการถ่ายภาพและการใช้แสงแบบต่าง ๆ การฝึกฝนจะทำให้คุณมีความชำนาญและไปถึงฝั่งฝัน!

Canon EOS 5D Mark II, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L II USM, f/16, 1/13, ISO 50 โดย Ken Thomann
Canon EOS 5D Mark II, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L II USM, f/16, 1/13, ISO 50 โดย Ken Thomann

 

https://snapshot.canon-asia.com/article/th/hdr-photography-a-beginners-guide