คอร์สติวเข้มการถ่ายภาพมาโครขั้นพื้นฐาน ภาค  2

 

ครั้งที่แล้วเราพูดถึงอุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพมาโครกันไปแล้ว ซึ่งสามารถอ่านย้อนหลังได้ (คลิกที่นี่) และในวันนี้เราจะมาลองฝึกถ่ายมาโครกัน

 

การถ่ายภาพมาโครไม่ใช่แค่ถ่ายใกล้หรือขยายวัตถุเล็กๆให้ใหญ่เท่านั้น แต่เป็นงานศิลปะที่ต้องอาศัยทักษะและความสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการผสมผสานระหว่างความเร็วชัตเตอร์ ขนาดรูรับแสง และค่า ISO สำหรับความไวแสง เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพมาโครทุกคนต้องฝึกฝนให้ชำนาญจนสามารถถ่ายภาพให้ออกมาได้สวยงาม 

 

เรามาเริ่มกันที่พื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพมาโครกันก่อนเลย หากเราใช้มือเปล่าในการถ่ายภาพ สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง นั้นคือ

- Speed Shutter เพราะเมื่อถ่ายภาพที่มีกำลังขยายสูงๆ การสั่นไหวเพียงแค่นิดเดียว ก็สามารถทำให้ภาพออกมาเบลอได้ง่ายกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ

F Number หรือรูรับแสง ซึ่งการถ่ายภาพมาโครส่วนใหญ่จะต้องเข้าใกล้วัตถุพอสมควร  Depth of Field หรือพื้นที่ช่วงระยะชัดจะค่อนข้างแคบมาก ดังนั้นการตั้งค่าสำหรับเริ่มต้นควรตั้งอยู่ที่ F5.6 หรือ F8 เพื่อให้ความคมชัดของภาพที่สูงขึ้น และระยะที่ชัดลึกเพิ่มมากขึ้น

ISO ค่า ISO ยิ่งสูง Noise ในภาพก็ยิ่งมากขึ้น ทำให้ภาพไม่คมชัด ไม่ใส ซึ่งสำหรับการถ่ายภาพมาโครที่ดีควรตั้ง ISO ให้ต่ำ เต็มที่ไม่ควรเกิน 800

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ด้วยเช่นกัน อย่างกล้อง Canon EOS 80D ที่มีระบบจัดการ Noise ได้ดี รวมถึงเลนส์ Canon EF 100mm f/2.8L IS USM ที่มีคุณสมบัติพิเศษ Image Stabilizer ที่ช่วยจัดการการถ่ายภาพมาโครในที่ที่มีแสงน้อย ลดการสั่นไหวจากการถือกล้องด้วยมือ  
 

 

ถัดไปการถ่ายภาพมาโครแบบ Indoor หรือภายในอาคาร/สถานที่ปิด เหมาะสำหรับการถ่ายภาพสินค้า เครื่องประดับ สร้อย แหวน นาฬิกา ฯลฯ ซึ่งความสำคัญอยู่ที่การจัดแสงให้เหมาะสมกับประเภทวัตถุหรือสินค้า เพราะการจัดแสงและยิงแสงจากทิศทางที่เหมาะสม จะช่วยสร้างอารมณ์ให้วัตถุไม่ดูเรียบแบน นอกจากนี้อุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพมาโครแบบ Indoor ยังช่วยเพิ่มอิสระในการถ่ายภาพและการจัดแสง เช่น Canon Speedlite Transmitter ที่สามารถสั่งยิงแฟลชได้แบบไร้สาย หรือกล้อง EOS M3 ที่ใช้คู่กับเลนส์ EF-M 28mm f/3.5 Macro IS STM ซึ่งมาพร้อมกับไฟแฟลชเกาะที่หน้าเลนส์

 

 

การถ่ายภาพมาโครในสภาพธรรมชาติ หรือแบบ Outdoor จะใช้แสงอาทิตย์เป็นหลัก ตัวแบบจะมีทั้งอยู่นิ่งกับที่และเคลื่อนไหว อย่างเช่น ผีเสื้อ ที่ถือว่าเป็นตัวแบบที่ถ่ายยากพอสมควร ดังนั้นสำหรับตัวแบบที่เหมาะแก่การเริ่มต้นถ่ายมาโครนั้นก็คือ ต้นไม้ ดอกไม้ หรือแมลงที่มีการเคลื่อนไหวน้อย ส่วนในเรื่องของสภาพแสงนั้น โดยธรรมชาติของการถ่ายแบบ Outdoor มักจะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เราควบคุมไม่ได้อยู่แล้ว ผู้ถ่ายจึงควรกะจังหวะการถ่ายภาพโดยดูช่วงที่แดดออก ทิศทางแสงมาจากด้านข้าง แสงที่สว่างมาก จะช่วยให้ได้เปรียบในการถ่าย Speed Shutter ที่สูงๆ มากขึ้น แต่บางกรณีที่จำเป็นต้องถ่ายแม้แสงจะมีน้อย ก็จะใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยจัดการเรื่องแสง อย่างเช่น แฟลช เป็นต้น แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดในการถ่ายภาพมาโคร Outdoor ก็คือ ผู้ถ่ายจะต้องมีความใจเย็นและอาศัยสมาธิอย่างมาก เพราะทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ส่วนใหญ่เราควบคุมไม่ได้

 


มาพูดถึงอุปกรณ์เสริมที่เพิ่มแสงให้การถ่ายมาโครได้ออกมาสวยงาม นั้นก็คือ แฟลชแยก หรือเรียกว่า แฟลชไร้สาย ซึ่งประโยชน์ของตัวแฟลชไร้สายนี้ คือ เราสามารถกำหนดทิศทางแสง กำลังแสงที่ใช้ และความกว้างของลำเสงได้เอง ซึ่งทางแคนนอนก็ขอแนะนำเป็น Canon Speedlite 600EX II-RT และ Speedlite 430EX III-RT ใช้งานร่วมกับ Canon Speedlite Transmitter ST-E3-RT เป็นตัวควบคุมการทำงานสำหรับกล้องแบบฟูลเฟรม หรือถ้าเป็นกล้อง A-PSC ก็สามารถซิงค์ผ่านแฟลช pop-up ของกล้องได้เช่นกัน

 

และบางท่านอาจยังไม่ทราบว่า จริงๆ แล้วเลนส์มาโครสามารถนำไปใช้ถ่ายภาพได้หลากหลาย นอกจากจะสามารถถ่ายเจาะรายละเอียดของสิ่งเล็กๆ ได้แล้ว เลนส์มาโครยังสามารถ Focus ในระยะ Infinity ได้อีกด้วย โดยสามารถใช้ระบบ Auto Focus ของกล้อง เพื่อจับ Focus ถ่ายภาพอื่นๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะภาพวิวทิวทัศน์ ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพชัดตื้นละลายหลัง หรือแม้แต่ถ่ายงานอีเวนต์ ซึ่งจุดเด่นที่สำคัญของเลนส์มาโครคือการเก็บรายละเอียดของภาพได้ดีมาก เปิดโอกาสให้เราสร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลายรูปแบบ

 

นี่เป็นแค่ข้อมูลบางส่วนของการถ่ายภาพมาโครเท่านั้น ซึ่งหากต้องการศึกษาเพิ่มเติม ทางแคนนอนเราได้จัดคอร์สติวเข้มการถ่ายภาพมาโครขั้นพื้นฐาน โดยสามารถติดตามกันได้กับวีดีโอ 'Basic Macro Photography' ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ Canon Thailand  ตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ โดยมีช่างภาพมืออาชีพสาขาการถ่ายภาพมาโครโดยเฉพาะ อย่างคุณ กิ๊ก ปิยะฉัตร แกหลง มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่างๆ ให้

 

 

หรือทางลัดง่ายๆ สำหรับการเข้าคอร์ส การถ่ายภาพมาโครขั้นพื้นฐาน สามารถคลิกที่ลิงก์นี้ได้เลย


ตอนที่ 1: การถ่ายภาพมาโคร .. ใครว่ายาก? 
ตอนที่ 2: ระบบมาโครของกล้องแบบออโต้ vs เลนส์มาโคร ต่างกันอย่างไร? 
ตอนที่ 3: อุปกรณ์หลักสำหรับการถ่ายภาพมาโคร 
ตอนที่ 4: อุปกรณ์เสริมสำหรับการถ่ายภาพมาโคร
ตอนที่ 5: เลนส์มาโครที่ดี .. ใครว่าจำเป็นต้องแพง?
ตอนที่ 6: การตั้งค่าพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพมาโคร
ตอนที่ 7: ถ่ายภาพมาโคร ในอาคาร
ตอนที่ 8: ถ่ายภาพมาโคร นอกอาคาร
ตอนที่ 9: เลนส์มาโครต้องถ่ายเฉพาะภาพมาโคร?
ตอนที่ 10: วิธีใช้แฟลชไร้สายเบื้องต้น


ส่วนตอนอื่นๆ อย่าลืมติดตามกันที่หน้าเพจ Canon Thailand