เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่นมาผมมีโอกาศได้ไปถ่ายภาพงานบุญบั้งไฟตะไลล้านที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของภาคอีสานเมื่อย่างเข้าเดือน พฤษภาคม ของทุกปีก็จะมีประเพณีบุญบั้งไฟซึ่งทำต่อหรือสืบสานกันมาหลายช่วงอายุคน แต่ที่ ต.กุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์จะไม่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน จะว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลกก็ว่าได้ ครับ  ความแปลกของบั้งไฟของชาว ต.กุดหว้า ก็คือโดยปกติของบั้งไฟหางจะจุดตรงส่วนท้ายของบั้งไฟ แต่บั้งไฟของชาว ต.กุดหว้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ตะไล"จะจุดกลางลำตัวโดยจะเจาะรูเชื้อเพลิงให้ออกทางด้านล่างของบั้งไฟทำให้บั้งไฟหมุนขึ้นท้องฟ้าอย่างรวดเร็ว ลักษณะบั้งไฟของชาว ต.กุดหว้า ตัวกระบอกของบั้งไฟจะบรรจุเชื้อเพลิงหรือดินประสิว ยาวตั้งแต่ 3-6 เมตร และมีส่วนประกอบอีกส่วนคือ ไม้ไผ่สานซึ่งล้อมรอบตัวกระบอกบั้งไฟเป็นวงกลมอันเป็นเอกลักษณ์ของบั้งไฟตะไลล้านของชาว ต.กุดหว้า ครับรูปภาพบรรยากาสงานทั้งสนุกและตื่นเต้น

  เป็นการนำบั้งไฟไปที่ลานจุด ซึ่งอยู่หางจากคนดูประมาณ 300 เมตร และทางเจ้าหน้าที่จัดงานเขาจะเตรียมพื้นที่สำหรับคนดูใว้ให้ด้วย ครับ

      บั้งไฟตะไลจะมีหลายขนาดชาวบ้านก็จะเรียกตามขนาดความใหญ่ของบั้งไฟ เช่น บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน และบั้งไฟล้าน ถ้าบั้งไฟหมื่นก็สามารถแบกบั้งไฟไปที่ลานจุดได้ด้วยทีมงานของแต่ค่าย แต่ถ้าเป็นบั้งไฟแสนหรือบั้งไฟล้านไม่สามารถยำบั้งไฟไปที่ลานจุดได้ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขากุฉินารายณ์ ก็จะให้บริการเคลื่อนย้ายไปที่ลานจุดให้ ครับ

    แต่ละค่ายก็จะมีลีลาท่าทางการฟ้อนการรำ ดูแล้วก็สนุกสนาน

    เมื่อนำบั้งไฟไปถึงลานจุด แต่ละค่ายก็จะมีผู้กล้าสองคน ทำการจุบั้งไฟ และรีบวิ่งออกมาให้เร็วที่สุดเพราะถ้าเกิดบั้งไฟไม่ขึ้นหรือระเบิด อันตรายมาก ครับ ที่ลานจุดเขาจะมีบังเก้อไว้ให้ทีมงานของค่ายบั้งไฟไว้หลบด้วยครับ ส่วนชั่งภาพก็สามารถไปหลบหลังบั้งเก้อได้ ครับ

    

  เหมือนสงครามไม่มีผิด ครับ ลุ้นไปกับพี่ๆทีมงานบั้งไฟ สนุกดีครับ ถ้าพี่ๆคนไหนอย่างไปถ่ายภาพแนะนำให้อยู่หลังบังเก้อ น๊ะ ครับ และให้เชื่อพี่ๆทีมงานที่จุดบั้งไฟเขาห้ามไม่ให้เข้าตรงไหนก็อย่าเข้า น๊ะ ครับ มันอันตรายจริงๆ ครับ

 เมื่อบั้งไฟของค่ายตัวเองขึ้นทีมงานก็จะวิ่งออกมาจากบังเก้อ แสดงลีลาท่าทางความดีใจที่บั้งไฟของค่ายตัวเองขึ้น

 ขนาดผู้ทรงศิลยังเก็บอาการไม่อยู่ ครับ

 มีดีใจก็ต้องมีเสียใจครับ ปีหน้าแก้มือใหม่

 ค่ายนี้บั้งไฟแตกครับ เดินกลับแทบไม่ไหว ปีหน้าแก้ตัวไหม่ ครับ

ค่ายนี้บั้งไฟขึ้น ครับ แต่ขึ้นอย่างเดียวไม่พอ น๊ะ ครับ ร่มต้องกางด้วยถึงจะสมบูรณ์ครับผม ทางเจ้าหน้าที่เขาจะกำหนดกติกาว่าค่ายบั้งไฟแต่ละค่ายต้องมีร่มทุกค่าย จึงจะยอมให้จุด ครับ ทำไมถึงต้องมีร่ม พี่ๆหลายคนคงสงสัยครับ จริงๆสมัยก่อนไม่มีร่มครับ เมื่อบั้งไฟขึ้นถึงจุดสูงสุดหรือหมดเชื้อเพลิงก็จะร่วงลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเมื่อก่อนก็ปล่อยให้ลงโดยไม่มีอะไรมาช่วยชะลอความเร็วของตัวบั้งไฟซึ่งหนักมาก ลองคิดเล่นๆดูครับว่าถ้าลงหลังคาบ้านใครแถวๆนั้นอะไรจะเกิดขึ้น หรือถ้าลงบริเวณที่ท่านผู้ชมอันตรายมากๆครับ ช่วงหลังๆเขาก็ออกกติกามาว่า ทุกค่ายต้องมีร่มจึงจะยอมให้จุด ครับ

ถ้าสังเกตดีๆเราจะเห็นร่มถูกติดตั้งไว้ตรงกลางของบั้งไฟโดยใช้เชือกฟากมัดติดกับบั้งไฟ ครับ เป็นภูมปัณญาจริงๆครับไม่ต้องคิดอะไรให้ซัพซ้อน ครับ เชือกฟางเมือโดนความร้อนก็จะขาด พอบั้งไฟหมดเชื้อเพลิงก็จะร่วงลงมาตามแรงโนมถ่วงของโลก ร่มที่ถูกมัดไว้ด้วยเชือกฟากและห่อด้วยหยวกกล้ว ก็จะกางเพราะแรงลมที่บั้งไฟร่วงลงมา ครับ แต่ไม่ใช่ว่าร่มของทุกค่ายจะกางสมบูรณ์ทุกค่าย ครับ บางค่ายร่มไม่กาง อันนี้อันตรายมาก ครับ

อันนี้สมบูรณ์แบบครับผม บั้งไฟของใครลอยอยู่ได้นานที่สุด ชนะ ครับผม โดนจะมีกรรมการคอยจับเวลาอยู่ ครับ

เล่นโคลน หรือมนุษย์ช๊อกโกเล็ต ทุกคนคงสงสัยทำไมต้องเล่นโคลน ผมว่าคงเป็นภูมิปัณญาชาวบ้าน ครับ อากศร้อนมากครับถ้าไม่เอาโคลนมาทาตัว หรือเล่นโคลนกัน คงโดนแดดเผาผิวเกรียมแน่นอน ครับ และอีกอย่างหนึ่ง ผู้กล้าที่เข้าไปจุดบั้งไฟถ้าเกิดบั้งไฟแตกขึ้นมา ผมว่าโคลนหน้าจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง ครับ

 อันนี้กำลังมาแรงครับ แฟร์ชั่นกางเกงขาด เท่มากๆ ครับ

 

 

เป็นไงครับ นี่เป็นแค่ภาพบรรยากาศบางส่วนครับ ทริปนี้ผมใช้กล้อง Canon EOS5D Mark IV กับเลนย์ EF300mm f/2.8L IS II USM หนักครับ แต่ก็คุ้มครับ และ EF16-35mm f/2.8L II USM ไว้งัดไกล้ๆก็ใช้งานได้ดีครับสมราคาค่าตัวครับ  ความคิดเห็นส่วนตัวผม ผมว่า EOS5D Mark IV โฟกัสตามวัตถุเร็วมาก ครับ ไม่ค่อยพลาดเวลาเราแพนตามวัตถุ และ ด้วยความละเอียด 30.2 ล้านพิกเซล เราสามารถครอปรูปได้โดยที่รายละเอียดของภาพไม่เสีย ครับผม

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                นาย ทรงศักดิ์ เอียดดำ